พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ได้บัญญัติให้จัดตั้ง “กองทุนพัฒนายางพารา” มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการสนับสนุน และส่งเสริมการพัฒนายางพารา โดยผู้ที่จะได้รับประโยชน์ได้แก่เกษตรกรชาวสวนยางและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่งจะต้องขึ้นทะเบียนไว้กับการยางแห่งประเทศไทย
คำนิยาม “สวนยาง” ตามพระราชบัญญัติ การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 หมายความว่า ที่ดินปลูกต้นยางเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 2 ไร่ แต่ละไร่มีต้นยางปลูกไม่น้อยกว่า 10 ต้น และโดยเฉลี่ยไม่น้อยกว่าไร่ละ 25 ต้น
“เกษตรกรชาวสวนยาง” หมายความว่า เจ้าของ ผู้เช่าหรือผู้ทําสวนยางและคนกรีดยางซึ่งมีสิทธิได้รับผลผลิตจากต้นยางในสวนยางนั้น และได้ขึ้นทะเบียนไว้กับการยางแห่งประเทศไทยตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
- สามารถขอรับการส่งเสริม สนับสนุนและความช่วยเหลือ เพื่อการปลูกแทน (เงินสงเคราะห์สวนยางเดิม)
- สามารถขอรับการส่งเสริม ในด้านการปรับปรุงคุณภาพผลผลิต การผลิต การแปรรูปยางพารา/ไม้ยาง ตามวิธีการที่ กยท. กำหนด
- ได้รับการจัดสวัสดิการ ตามที่ กยท. กำหนด
- ได้รับความช่วยเหลือจาก กยท. ในการรวมกลุ่มเป็นสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง
เจ้าของสวนยาง
- เป็นผู้ขอขึ้นทะเบียนที่มีชื่ออยู่ในเอกสารหลักฐานที่ดิน ซึ่งมีสิทธิได้รับผลผลิตจากสวนยางในที่ดิน ไม่ว่าจะกรีดเองหรือจ้างกรีด
- เอกสารสำหรับยื่นขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยาง
- บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา และรับรองสำเนาถูกต้อง
- สำเนาทะเบียนบ้าน และรับรองสำเนาถูกต้อง
- แบบคำขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยาง คบ.ก 1
เอกสารหลักฐานที่ดิน พร้อมสำเนา (บัญชีเอกสารหลักฐานที่ดิน 1.และ 2.) โดยต้องมีพยานซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงหรือกํานัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในพื้นที่ที่สวนยางตั้งอยู่รับรองการใช้ประโยชน์ที่ดินและการทํากิจกรรมปลูกยาง/กรีดยาง โดยต้องลงลายมือชื่อเป็นพยานในแบบคําขอ พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ให้ครบถ้วน - รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 3 รูป
- หนังสือมอบอำนาจกรณีให้ตัวแทนดำเนินการ คบ.ก 4
- เอกสารอื่นๆ…(หากเจ้าหน้าที่ขอเอกสารเพิ่มเติม ให้ติดต่อหน่วยงานโดยตรงเท่านั้น)
ผู้เช่าสวนยาง
- เป็นผู้ขอขึ้นทะเบียน ซึ่งไม่มีชื่ออยู่ในเอกสารหลักฐานที่ดิน แต่มีสิทธิได้รับผลผลิตจากสวนยางนั้น เนื่องจากได้ทำสัญญาเช่าที่ดิน โดยเจ้าของที่ดินต้องไม่มีสิทธิรับผลผลิตจากสวนยางนั้น
- เอกสารสำหรับยื่นขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยาง
- บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนาและรับรองสำเนาถูกต้อง
- สำเนาทะเบียนบ้าน และรับรองสำเนาถูกต้อง
- แบบคำขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยาง คบ.ก 1
- เอกสารหลักฐานที่ดิน พร้อมสำเนา และรับรองสำเนาถูกต้อง (บัญชีเอกสารหลักฐานที่ดิน 1.และ 2.)
- รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 3 รูป
- สัญญาเช่าที่ดิน
- หนังสือมอบอำนาจกรณีให้ตัวแทนดำเนินการ คบ.ก 4
- เอกสารอื่นๆ…(หากเจ้าหน้าที่ขอเอกสารเพิ่มเติม ให้ติดต่อหน่วยงานโดยตรงเท่านั้น
ผู้ทำสวนยาง
- เป็นผู้ขอขึ้นทะเบียน ซึ่งไม่มีชื่ออยู่ในเอกสารหลักฐานที่ดิน แต่มีสิทธิได้รับผลผลิตจากสวนยางนั้น เนื่องจากได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดิน โดยเจ้าของที่ดินต้องไม่มีสิทธิรับผลผลิตจากสวนยางนั้น (ยกตัวอย่าง เช่น บิดาเป็นเจ้าของที่ดินตามเอกสารสิทธิ แต่ยินยอมให้บุตรเข้าไปทำสวนยาง สิทธิในการขึ้นทะบียนเกษตรกรชาวสวนยางจะเป็นของบุตร)
- เอกสารสำหรับยื่นขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยาง
- บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา และรับรองสำเนาถูกต้อง
- สำเนาทะเบียนบ้าน และรับรองสำเนาถูกต้อง
- แบบคำขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยาง คบ.ก 1
- เอกสารหลักฐานที่ดิน พร้อมสำเนา และรับรองสำเนาถูกต้อง (บัญชีเอกสารหลักฐานที่ดิน 1.และ 2.)
- รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 3 รูป
- หนังสือรับรองจากเจ้าของที่ดิน คบ.ก 3
- หนังสือมอบอำนาจกรณีให้ตัวแทนดำเนินการ คบ.ก 4
- เอกสารอื่นๆ…(หากเจ้าหน้าที่ขอเอกสารเพิ่มเติม ให้ติดต่อหน่วยงานโดยตรงเท่านั้น)
คนกรีดยาง
- เป็นผู้รับจ้างกรีดยาง โดยได้รับส่วนแบ่งจากผลผลิตตามสัดส่วนและตามจำนวนที่กรีด โดยผู้ว่าจ้างจะต้องขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรกรชาวสวนยางแล้ว คนกรีดยางจะต้องไม่เป็นเจ้าของสวนยาง ผู้เช่าหรือผู้ทำสวนยาง
- เอกสารสำหรับยื่นขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยาง
- บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา และรับรองสำเนาถูกต้อง
- สำเนาทะเบียนบ้าน และรับรองสำเนาถูกต้อง
- แบบคำขอขึ้นทะเบียนคนกรีดยาง คบ.ก 2 (เจ้าของสวนต้องลง
- ลายมือชื่อรับรองในแบบคำขอ คบ.ก 2 ในสวนยางนั้น พร้อมแนบสำเนาเอกสารบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของสวน)
- รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 3 รูป
- หนังสือมอบอำนาจกรณีให้ตัวแทนดำเนินการ คบ.ก 4
- เอกสารอื่นๆ…(หากเจ้าหน้าที่ขอเอกสารเพิ่มเติม ให้ติดต่อหน่วยงานโดยตรงเท่านั้น)
- เกษตรกรต้องเตรียมเอกสารหลักฐานฉบับจริงของตนเองมาด้วย เพื่อให้พนักงานตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
- กรณี ผู้เยาว์เป็นผู้ขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยาง ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม ตามแบบ คบก.5
- หนังสือมอบอำนาจ (แบบ คบก.4) กรณีแทน/อื่นๆ (ถ้ามี) ให้ผู้รับมอบอำนาจเป็นตัวแทนจัดการในเรื่อง ดังนี้
- กรณีผู้ยื่นขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยาง มีสิทธิครอบครองที่ดินร่วมกับผู้อื่น จะต้องลงลายมือชื่อมอบอำนาจให้ครบทุกคน หรือผู้มีสิทธิ์ครอบครองร่วมทุกคนมอบอำนาจให้ผู้อื่นที่มิได้มีสิทธิ์ครอบครองเป็นผู้ยื่น ผู้มีสิทธิ์ครอบครองร่วมจะต้องลงลายมือชื่อให้ครบทุกคน โดยลงลายมือชื่อผู้มอบอำนาจและคู่สมรสในแบบหนังสือมอบอำนาจเพื่อดำเนินการ (แบบ คบก.4) ด้วย
- กรณีดำเนินการแทนเจ้าของสวนยาง เช่น ขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยาง ยกเลิก/แก้ไข ทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยาง ทั้งนี้ หนังสือมอบอำนาจ (แบบ คบก.4) กรณีแทน/อื่นๆ (ถ้ามี) ให้ปิดอากรแสตมป์ จำนวน 10 บาท และขีดเส้นคร่อมบนอากรแสตมป์ด้วย พร้อมกับแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจพร้อมคู่สมรส และผู้รับมอบอำนาจ พร้อมลงลายมือชื่อรับรอง โดยหนังสือฉบับนี้เป็นหนังสือระหว่างเกษตรกรชาวสวนยาง กับผู้รับมอบอำนาจ จึงไม่ต้องทำหนังสือต่อหน้าพนักงาน กยท.
- ผู้ขอขึ้นทะเบียนต้องให้พยานซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงหรือกำนันผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในพื้นที่ที่สวนยางตั้งอยู่รับรองการใช้ประโยชน์ที่ดินและการทำกิจกรรมปลูกยาง/กรีดยาง โดยต้องลงลายมือชื่อเป็นพยาน ในแบบคำขอให้ครบถ้วน กรณีเป็นคนกรีดยาง ต้องให้เจ้าของสวนยางลงลายมือชื่อรับรองการเป็นคนกรีดยางในสวนยางนั้น
- หลังที่ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนแล้ว
- พนักงานตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องของเอกสาร 5-30 นาที
- หากเจ้าหน้าที่ไม่รับขึ้นทะเบียนเนื่องจากเอกสารไม่ครบถ้วน ให้เกษตรกรนำเอกสารมายื่นเพิ่มเติมภายใน 7 วันทำการ มิฉะนั้นจะถือว่าท่านสละสิทธิ์ ในการขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยาง หากยังมีความประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนต้องมายื่นขอขึ้นทะเบียนใหม่อีกครั้ง
- เจ้าหน้าที่จะใช้เวลาพิจารณาและอนุมัติ ภายใน 30 วันนับแต่ยื่นเอกสารครบถ้วน
- การยางแห่งประเทศไทย
- เลขที่ 67/25 ถนนบางขุนนนท์ แขวงบางขุนนนท์ เขตบางขุนนนท์ กรุงเทพมหานคร 10700
- โทรศัพท์ 02-433-2222
- โทรสาร 02-433-6490
- ที่ทำการการยางแห่งประเทศไทย จังหวัด/สาขาใกล้บ้านท่าน
- วันและเวลาในการติดต่อ
- วันจันทร์ – วันศุกร์ เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 8.30 – 16.30 น.
Post Views:
4,316