การตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ต้องเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงเข้าข่ายตามเงื่อนไขดังนี้
- มีไข้ หรือวัดอุณหภูมิร่างกายได้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ร่วมกับมีอาการทางระบบทางเดินหายใจ ( ไอ น้ำมูก เจ็บคอ หายใจเร็ว หรือหายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก )
- มีประวัติเดินทางไปหรือกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง หรืออาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการรายงานการระบาดของโรคติดเชื้อเชื้อไวรัส โควิด-19
- มีประวัติใกล้ชิดกับนักท่องเที่ยวที่มาจากพื้นที่ที่มีการรายงานการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
- มีการสัมผัสนักท่องเที่ยวกลุ่มเสี่ยง
- มีประวัติใกล้ชิดหรือสัมผัสกับผู้ป่วยที่ยืนยันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19
- มีประวัติไปในสถานที่แออัด
- เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ป่วยสงสัยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19
ให้ไปตรวจที่โรงพยาบาลตามสิทธิ ไม่เสียค่าใช้จ่าย
- การปฏิบัติตัวสำหรับประชาชนสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สิทธิบัตรทอง, สิทธิ 30 บาท)
- การปฏิบัติตัวสำหรับประชาชนสิทธิประกันสังคม
- หลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอกแลผู้ป่วยในสถานพยาบาลของทางราชการ
หากหมอวินิจฉัยว่าเป็นผู้เสี่ยงติดเชื้อไวรัส โควิด-19
- จะถูกส่งเลือดไปตรวจหาเชื้อไวรัสและถูกกักตัว
- ต้องการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เอง โดยที่แพทย์ไม่ได้วินิจฉัยให้ ต้องจ่ายเงินเอง
ตัวอย่าง สถานพยาบาลและอัตราค่าบริการตรวจไวรัส COVID-19 (อัตราค่าบริการเป็นไปตามที่สถานพยาบาลนั้น ๆ กำหนด)
- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- กรณีผู้ที่เข้าเกณฑ์ที่กำหนดตรวจรักษาฟรี
- กรณีไม่เข้าเกณฑ์เสียค่าใช้จ่าย ราคา 3,000 – 6,000 บาท
- โรงพยาบาลราชวิถี
- กรณีผู้ที่เข้าเกณฑ์ที่กำหนดตรวจรักษาฟรี
- กรณีไม่เข้าเกณฑ์เสียค่าใช้จ่าย ราคา 3,000 – 6,000 บาท
- โรงพยาบาลรามาธิบดี
- กรณีผู้ที่เข้าเกณฑ์ที่กำหนดตรวจรักษาฟรี
- กรณีไม่เข้าเกณฑ์เสียค่าใช้จ่าย ราคา 5,000 บาท
- สถาบันบำราศนราดูร
- กรณีผู้ที่เข้าเกณฑ์ที่กำหนดตรวจรักษาฟรี
- กรณีไม่เข้าเกณฑ์เสียค่าใช้จ่าย 2,500 บาท
- โรงพยาบาลวิชัยยุทธ เสียค่าใช้จ่าย ราคา 7,500 บาท
- โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์แนชั่นแนล เสียค่าใช้จ่าย ราคา 7,900 บาท – 10,000 บาท
- โรงพยาบาลพญาไท 2 และ 3 เสียค่าใช้จ่าย ราคา 6,100 บาท
- โรงพยาบาลแพทย์รังสิต เสียค่าใช้จ่าย 8,000 บาท
- โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ เสียค่าใช้จ่าย 9,900 บาท
- โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน เสียค่าใช้จ่าย 5,000 บาท – 10,000 บาท
- โรงพยาบาลพระราม 9 เสียค่าใช้จ่าย 8,000 บาท – 10,000 บาท
- โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล ทุกสาขา เสียค่าใช้จ่าย 5,000 บาท ขึ้นไป
- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- ความผิดของผู้ปกปิดข้อมูลการสอบสวนโรค ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มาตรา 53
- ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามมาตรา 38 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การใช้สิทธิ์ในการรักษา
สปสช.แจ้งประชาชนสิทธิบัตรทอง 30 บาท หากมีอาการเข้าข่ายสงสัยป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโรคโควิด-19 ตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข สามารถเข้ารักษา รพ.ตามสิทธิ ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ผู้ที่เข้าเกณฑ์การเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ต้องมีอาการดังนี้
- ผู้ป่วยที่มีประวัติไข้ หรือวัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 37 องศาเซลเซียสขึ้นไป ร่วมกับอาการระบบทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง (ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจเร็ว หรือหายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก) และมีประวัติในช่วง 14 วัน ก่อนวันเริ่มมีอาการ
- มีการเดินทางไปหรือมาจากประเทศ หรือ อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการรายงานการระบาดต่อเนื่องของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ
- เป็นผู้ประกอบอาชีพที่สัมผัสใกล้ชิดกับนักท่องเที่ยวที่มาจากพื้นที่ที่มีรายงานการระบาดต่อเนื่องของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ
- มีประวัติใกล้ชิดหรือสัมผัสกับผู้ป่วยที่ยืนยันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
- ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่หาสาเหตุไม่ได้ และมีประวัติใกล้ชิดกับผู้ที่สงสัยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
- ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่หาสาเหตุไม่ได้ และเป็นบุคลากรทางการแพทย์
- ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบเฉียบพลันชนิดรุนแรงที่หาสาเหตุไม่ได้
หากมีอาการเข้าข่ายสงสัยป่วยโรคโควิด-19
- โทรสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422
- รีบไปตรวจที่โรงพยาบาลตามสิทธิของท่าน
หากมีอาการเข้าข่ายแต่อยู่ต่างพื้นที่ รพ.ที่มีสิทธิ เช่น ไปต่างจังหวัด
- ให้ไปที่โรงพยาบาลของรัฐ โดยต้องสวมหน้ากากอนามัย แจ้งประวัติ ไม่ปกปิดข้อมูลใด ๆ
- เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นผู้เสี่ยงติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 จะถูกส่งตัวรักษาตามกระบวนการของกระทรวงสาธารณสุข โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ตรวจสอบสิทธิ์
- ตรวจสิทธิ์รักษาพยาบาล ได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ www.nhso.go.th
หากอาการไม่เข้าข่ายตามหลักเกณฑ์ แต่สงสัยเองว่าจะป่วยเป็นโรคโควิด-19
- ต้องการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เอง โดยที่แพทย์ไม่ได้วินิจฉัยให้ ต้องจ่ายเงินเอง
- ทั้งนี้ขอย้ำว่า ในกรณีนี้ไม่แนะนำให้ไปโรงพยาบาลเพื่อขอตรวจเอง แม้จะจ่ายเงินเอง แต่การไปโรงพยาบาลโดยไม่มีความจำเป็น จะเป็นการเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการได้รับเชื้อจากโรงพยาบาล และเพิ่มภาระให้บุคลากรสาธารณสุขโดยไม่จำเป็น
☎️ สอบถามข้อมูลเรื่องสิทธิ การใช้สิทธิบัตรทอง โทร สายด่วนสปสช .1330
กรณีเพิ่งเดินทางกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง แล้วมีอาการป่วย
- มีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ เจ็บหน้าอก
- ให้สวมหน้ากากอนามัยแล้วรีบไปพบแพทย์ที่สถานพยาบาลตามสิทธิประกันสังคมที่เลือกไว้ได้เลย
- แพทย์จะส่งตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนาฟรี
- ในกรณีที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนาขึ้นมาจริง ๆ ก็จะได้รับการรักษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ตรวจสอบสิทธิผู้ประกันตน
- ตรวจสอบสิทธิได้ที่เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th
หากมีอาการป่วยแต่ไม่สามารถไปโรงพยาบาลตามสิทธิ์ได้ เช่น ตอนนี้อยู่ต่างจังหวัด อยู่ต่างพื้นที่
- เข้ารักษาในโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ หรือโรงพยาบาลรัฐทุกแห่งตามระบบประกันสังคมได้ก่อนเลย โดยจะเบิกจ่ายเป็นกรณีฉุกเฉิน 72 ชั่วโมง
- หากเราต้องสงสัยว่าติดเชื้อและต้องถูกกักกัน ให้แจ้งโรงพยาบาลตามสิทธิ์เพื่อรับผิดชอบค่าใช้จ่าย
หากตรวจพบว่าป่วยโควิด-19 และแพทย์มีคำสั่งให้หยุดพักรักษาตัวจะได้ค่าชดเชยเท่าไร ?
- ค่าจ้างจากนายจ้าง
- กรณีเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 สามารถใช้สิทธิ์ลาป่วยโดยได้รับค่าจ้างจากนายจ้างไม่เกิน 30 วัน/ปี
- เงินทดแทนการขาดรายได้จากประกันสังคม
- กรณีเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ประกันสังคมจะจ่ายเงินทดแทนฯ ให้ในอัตรา 50% ของค่าจ้าง (คิดจากฐานอัตราเงินเดือนสูงสุดของผู้ประกันตนแต่ละมาตรา) โดยได้รับครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นเป็นโรคเรื้อรัง จะได้รับเงินทดแทนฯ ไม่เกิน 365 วัน
กรณีที่ไม่ได้เดินทางออกนอกประเทศ หรือไม่ได้ไปประเทศกลุ่มเสี่ยง
แต่ต้องการตรวจหาเชื้อเพื่อความมั่นใจ โดยที่หมอไม่ได้เป็นผู้วินิจฉัยให้ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจเอง
หลักเกณฑ์ และอัตราค่าบริการทางการแพทย์กรณีโรคโควิด 19
- เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ประกาศเรื่อง หลักเกณฑ์ และอัตราค่าบริการทางการแพทย์
กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) - แบ่งเป็น สถานพยาบาลของรัฐ และ เอกชน
- โดยให้บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป
1. ผู้ป่วยนอก
- ค่าตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 9 ทางห้องปฏิบัติการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวง สาธารณสุขกำหนด และค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment : PPE) สำหรับบุคลากรห้อง ปฏิบัติการ ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกินครั้งละ 3,000 บาท
- ค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล สำหรับบุคลากรเพื่อเก็บตัวอย่างส่งตรวจ ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกินครั้ง ละ 540 บาท
2. ผู้ป่วยใน
- ค่าห้องพักสำหรับควบคุมหรือดูแลรักษา หรือหอผู้ป่วยเฉพาะกิจโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ตาม มาตรฐานกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขและค่าอาหาร ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกินวันละ 2,500 บาท
- ค่าบริการทางการแพทย์สำหรับ 1 Admission ให้คำนวณตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnostic related group :DRG) ที่มีค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ปรับตามวันนอน (Adjusted Relartive weight Rw) ในอัตรา 12000 บาท ต่อหนึ่งน้ำหนักสัมพัทธ์ปรับตามวันนอน (Adjusted Relative weight : AdjiRw)
- ค่ายาต้านไวรัสหรือยาที่เป็นการรักษาเฉพาะผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ในอัตราเท่าที่จ่ายตามจริงตามความจำเป็นไม่เกิน 7,200 บาทต่อราย
- ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกินครั้งละ 2,500 บาท
- ค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment : PPE) จานวนตามอาการผู้ประกันตนที่ป่วย ดังนี้
- กรณีอาการเล็กน้อยถึงอาการปานกลาง จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็นไม่เกิน 15 ชุดต่อวัน จำนวน 740 บาทต่อชุด
- กรณีอาการรุนแรง จ่ายตามการให้บริการจริง จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็นไม่เกิน 30 ชุดต่อวัน จำนวน 740 บาทต่อชุด
สำนักงานจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ กรณีการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 สำหรับผู้ประกันตนที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ของกระทรวงสาธารณสุข และไม่ได้เป็นผู้รับสิทธิจากหน่วยงานภาครัฐอื่นรวมถึงค่าบริการทางการแพทย์สำหรับผู้ประกันตนที่ป่วยให้แก่สถานพยาบาลของเอกชน ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
กรณีที่มีเหตุจำเป็นต้องส่งต่อผู้ประกันตนที่ป่วยไปรับการดูแลที่สถานพยาบาลอื่นตามความเหมาะสม ตามมาตรฐานวิชาชีพ ให้สำนักงานจ่ายค่าบริการ ดังนี้
- กรณีใช้ยานพาหนะ เพื่อรับหรือส่งต่อผู้ประกันตนที่ป่วยระหว่างสถานพยาบาล ซึ่งตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัดเดียวกัน ให้จ่ายตามจำนวนเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 500 บาท
- กรณีใช้ยานพาหนะ เพื่อรับหรือส่งต่อผู้ประกันตนที่ป่วยระหว่างสถานพยาบาลซึ่งตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัดอื่น นอกจากจ่ายเงินเป็นค่าพาหนะตามข้อ 1. แล้ว สำนักงานจะจ่ายเงินเพิ่มให้อีก ในอัตรากิโลเมตรละ6 บาท โดยคำนวณจ่ายตามระยะทางของกรมทางหลวงในทางสั้น และทางตรง
- ค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment : PPE) รวมค่าทำความสะอาดฆ่าเชื้อยานพาหนะ จ่ายตามจริงไม่เกิน 3,700 บาทต่อครั้ง
กรณีที่สำนักงานเห็นว่าผู้ประกันตนหรือสถานพยาบาล สมควรได้รับค่าบริการทางการแพทย์นอกเหนือจากที่กำหนด ให้สำนักงานจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ดังกล่าวให้แก่ผู้ประกันตนหรือสถานพยาบาล ตามคำแนะนำของคณะกรรมการการแพทย์ หรือผู้ที่คณะกรรมการการแพทย์มอบหมาย