คุณสมบัติและวิธีการคัดกรอง
ช่วยแรงงาน ลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ เน้น คนทำงานที่เดือนร้อนจาก Covid-19 เช่น
- ถูกเลิกจ้าง
- โดนลดเวลาทำงานที่ส่งผลต่อรายได้
- โดนลดเงินเดือน
- สถานประกอบการถูกปิด
- มีสัญชาติไทย อายุ 18 ปีขึ้นไป
- ลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ
- ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม ยกเว้นผู้ประกันตนมาตรา 39 มาตรา 40
- ได้รับผลกระทบจาก Covid19
คนทำงานรับจ้างทั่วไป ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เกษตรกร หรือใครก็ตามที่ทำงานโดย “ไม่มีสัญญาการจ้างงาน” หรือ “ไม่มีนายจ้างตามกฎหมายแรงงาน” ไม่มีค่าจ้างไม่มีรายได้ค่าตอบแทนแน่นอน และไม่อยู่ในระบบหลักประกันทางสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่าปี 2562 มีจำนวนทั้งสิ้น 20.4 ล้านคน ส่วนแรงงานในระบบที่มีนายจ้างหรืออยู่ในระบบหลักประกันต่าง ๆ มีจำนวน 17.1 ล้านคน
ไม่จำกัด เนื่องจาก3 ล้านคนเป็นตัวเลขประมาณการณ์ หากมีจำนวนผู้ที่ได้รับผลกระทบ ที่เป็นกลุ่มแรงงาน ลูกจ้างอาชีพอิสระ มากกว่าที่ประมาณการไว้ รัฐบาลก็พร้อมดูแลให้กิดความครอบคลุมมากที่สุด
กระทรวงการคลังยืนยันว่า ผู้ประกันตนมาตรา 39 และ 40 มีสิทธิได้เงิน 5 พันบาท
- เนื่องจากเป็น มาตรา 39 คือผู้ออกจากงานประจำที่มีนายจ้างแล้ว แต่ยังสมัครใจจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมด้วยตัวเอง
- ส่วนมาตรา 40 คือผู้ทำงานนอกระบบทั่วไป และไม่เคยอยู่ในระบบประกันสังคมที่มีนายจ้างมาก่อน เช่น พ่อค้าแม่ค้า เกษตรกร อาชีพอิสระ ฯลฯ และต้องได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID19
มีสิทธิ์
- ผู้ประกันตนตามมาตรา ม.33 แต่ส่งเงินสมทบ ไม่ครบ 6 เดือน สามารถลงทะเบียนได้ หากเป็นผู้ได้รับ ผลกระทบ
มีสิทธิ์
- กระทรวงการคลังมีระบบการกัดกรองเพื่อดูว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติ ที่จะได้รับสิทธิเยียวยา
กระทรวงการคลัง ใช้ระบบ AI (Artificial Intelligence) ในการคัดกรองคุณสมบัติ ขอให้ผู้ลงทะเบียนกรอกข้อมูลให้ถูกต้อง
การตรวจสอบคุณสมบัติจะใช้ข้อมูลทุติยภูมิ (SECONDARY DATA) จากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น ฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ฐานข้อมูลนักเรียนหรือนักศึกษา ฐานข้อมูลผู้ประกันตน ฐานข้อมูลข้าราชการ เป็นสำคัญ แล้วนำข้อมูลจากผู้ลงทะเบียนพิจารณาเป็นลำดับถัดไปเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง
คุณสมบัติตามสายอาชีพ
กลุ่มอาชีพที่สามารถประเมินผลกระทบจาก Covid-19 ได้รับความเดือนร้อนและมีฐานข้อมูลตรวจสอบได้ชัดเจน
- มัคคุเทศก์
- ขับรถแท็กซี่
- ผู้ค้าสลาก
- วินมอเตอร์ไซค์
ส่วนอาชีพอื่น ๆ อยู่ระหว่างการตรวจสอบและคัดกรองซึ่งจะทยอยเผยแพร่ต่อไป
กรณีเป็นเจ้าของกิจการขนาดเล็ก เช่น ร้านเสริมสวย , ร้านขายข้าวแกง , ร้านนวดที่มีลูกจ้าง 1 -2 คน และไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม สามารถลงทะเบียนได้ หากอยู่ในเงื่อนไขการได้รับความเดือดร้อนจากมาตราป้องกันโควิด-19
ไม่มีสิทธิ์
- สถานประกอบการ ที่มีลูกจ้างสามารถรับความช่วยเหลือจากมาตรการอื่นๆของกระทรวงการคลัง เช่นมาตรการสินเชื่อฉุกเฉิน สินเชื่อพิเศษ เป็นต้น
สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการได้ แต่การพิจารณาเป็นไปตามเงื่อนไขของมาตรการฯ
หมดสิทธิ์รับ 5,000 บาท
- เนื่องจากนักเรียนนักศึกษาไม่ได้ประกอบอาชีพเป็นหลัก อีกทั้งมีมาตรการช่วยเหลือเป็นเฉพาะสำหรับกลุ่มที่มีหนี้กับ กยศ. เช่น พักหนี้ ผ่อนผันหนี้แล้ว
หมดสิทธิ์รับ 5,000 บาท
- เนื่องจากธุรกิจยังดำเนินไปได้ตามปกต
ิ และการขนส่งสินค้ายังดำเนิน ต่อไปได้ - แต่ถ้าลงไปแล้วก็จะไม่ได้รับเงินเยียวยา
หมดสิทธิ์รับ 5,000 บาท
- เพราะมาตรการมีจุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ เช่น รายได้ลดลง ไม่มีรายได้ ชั่วโมงการทำงานลดลง หยุดงาน ปิดกิจการ
- กรณีแม่บ้านจึงถือว่าไม่เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบ
หมดสิทธิ์รับ 5,000 บาท
- เนื่องจากรัฐให้ความช่วยเหลือเยียวยา
ผลกระทบจากโควิด-19 ระยะที่ 3 อยู่แล้ว
ไม่ห้ามแต่ต้องมีคุณสมบัติครบ คือ
- แรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ
- ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม มาตร 33
- ได้รับผลกระทบจาก Covid19
- หากเป็นผู้สูงอายุที่ว่างงานหรือไม่ได้ทำงานจะไม่มีสิทธิ
- นอกจากเป็นผู้สูงอายุที่ยังคงทำงานรับจ้างและมีรายได้ตามนิยามของกลุ่มแรงงานนอกระบบ
- หากเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโรคโควิด- 19 สามารถสมัครลงทะเบียนได้
- กระทรวงการคลังจะมีการคัดกรองอีกครั้งว่าได้รับสิทธิหรือไม่
มาตรการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อช่วยเหลือลูกจ้าง แรงงาน ที่มีอาชีพอิสระ ที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดโควิต-19
- อายุต่ำกว่า 18 ปี – ยังไม่อยู่ในวัยทำงาน ไม่ใช่แรงงาน
- คนที่ว่างงานอยู่ก่อนแล้ว – ไม่ใช่กลุ่มแรงงาน ลูกจ้าง หรืออาชีพอิสระที่เดือดร้อน
จากโควิด-19 เช่น ถูกเลิกจ้าง ถูกลดเงินเดือน หรือสถานประกอบการถูกปิด - ผู้ได้รับเงินชดเชยกรณีว่าง
งานจากประกันสังคม - ข้าราชการ – ยังมีงานทำ ได้รับเงินเดือนตามปกติ
- ผู้รับบำนาญ – ยังได้รับการดูแลจากภาครัฐส
ม่ำเสมอ - นักเรียน/
นักศึกษา –เรียนหนังสือเป็นหลัก ไม่ใช่กลุ่มแรงงาน ลูกจ้าง หรืออาชีพอิสระ หากมีหนี้ กยศ. จะได้รับการพักหนี้หลายล้านคน - เกษตรกร – รัฐให้ความช่วยเหลือเยียวยา
ผลกระทบจากโควิด-19 ระยะที่ 3 อยู่แล้ว - ผู้ค้าขายออนไลน์ – ธุรกิจยังดำเนินไปได้ตามปกต
ิ และการขนส่งสินค้ายังดำเนิน ต่อไปได้ - คนงานก่อสร้าง – ยังทำงานต่อไปได้ การก่อสร้างยังไม่ถูกระงับ
- โปรแกรมเมอร์ – อาชีพนี้ยังมีความยืดหยุ่น ทำงานที่ไหนก็ได้ ยังไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง
วิธีการลงทะเบียน
- www.เราไม่ทิ้งกัน.com ตลอด 24 ชม. เริ่ม 6 โมงเย็น เสาร์ที่ 28 มี.ค. 63
- ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2563 เป็นต้นไป
- ปรับเวลาลงทะเบียนเป็น 06.00 – 23.59 น.
- ปิดลงทะเบียนเวลา 00.00 – 05.59 น. ของทุกวัน
- ไม่ต้องไปสาขาธนาคาร อยู่บ้านทำเองดีที่สุดให้ญาติให้เพื่อนช่วยลงได้อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ
- มีบัญชีธนาคารอยู่แล้ว ไม่ต้องเปิดใหม่ ใช้ได้เลย
- ควรลงทะเบียนด้วยตนเอง เนื่องจากเป็นข้อมูลส่วนตัว
- หากใครลงทะเบียนไม่เป็นก็ต้องให้สมาชิกในครอบครัวหรือผู้ที่ไว้ใจได้ลงทะเบียนให้แทน
ต้องเตรียมข้อมูลดังนี้
- บัตรประชาชน
- หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ ย้ำ มือถือของตัวเองหรือคนใกล้ชิด
- คิดไว้ก่อนเลยว่าจะรับโอนเงินทางไหน ระหว่าง บัญชีธนาคาร ธนาคารอะไรก็ได้ แต่ชื่อนามสกุลต้องตรงกัน หรือพร้อมเพย์ ที่ผูกกับเลขบัตรประชาชน
- ข้อมูลการทำงาน
- ผลกระทบจาก Covid19
- หลังลงทะเบียนแล้ว ถ้าข้อมูลถูกต้อง คุณสมบัติครบถ้วน จะได้รับเงินเร็วสุด 7 วันทำการ
- และจะได้รับเงิน 3 เดือน เพิ่มเป็น 6 เดือน (เมษายน – กันยายน 63) [ตามมติ ครม. 2020-04-07 17:16:29]
ขณะนี้ยังไม่มีกำหนดปิด จนกว่าจะมั่นใจว่าผู้ได้รับผลกระทบมาลงทะเบียนครบทุกคน โดยใช้บัญชีธนาคารใดก็ได้ที่มีชื่อตรงกับผู้ลงทะเบียน
สามารถใช้หมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลใกล้ชิดมาลงทะเบียนได้ โดย 1 หมายเลขสามารถใช้ลงทะเบียนได้ 5 บุคคล
สำหรับท่านที่ขอยกเลิกการลงทะเบียนสำเร็จแล้วถือว่าท่านได้ยอมรับเงื่อนไขและข้อตกลง ตามคำขอยกเลิกการลงทะเบียนมาตรการฯ ดังนั้นท่านจะไม่สามารถกลับมาลงทะเบียนใหม่ได้
ปัจจุบันได้พัฒนาและปรับปรุงระบบขอให้ผู้ขับแท็กซี่ส่วนบุคคลเข้าไปล่งทะเบียนใหม่และกรอกว่า “ขับแท็กซี่ส่วนบุคคล”
ขณะนี้ได้พัฒนาและปรับปรุงระบบแล้วท่านสามารถเข้าไปลงทะเบียนใหม่ผ่านทางเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com
ไม่ได้ ต้องเป็นบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขบัตรประจำตัวประชาชนกับธนาคารใดก็ได้ หรือหากไม่มีหมายเลขพร้อมเพย์สามารถใช้บัญชีธนาคารใดก็ได้
ไม่ได้ ชื่อและนามสกุลเจ้าของบัญชีต้องตรงกับชื่อและนามสกุลของผู้ลงทะเบียนเท่านั้น
ไม่ได้ เลขบัญชีธนาคารจะต้องมีชื่อและนามสกุลเจ้าของบัญชีตรงกับชื่อและนามสกุลของผู้ลงทะเบียนเท่านั้น
ขึ้นอยู่กับการพิจารณาจัดสรรเงินช่วยเหลือหรือเยียวยาผลกระทบของหน่วยงานของรัฐนั้น ๆ
ได้ สามารถใช้หมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลใกล้ชิดมาลงทะเบียนได้ โดย 1 หมายเลขสามารถใช้ลงทะเบียนได้ 5 บุคคล
ท่านต้องมีบัญชีธนาคารของตัวเอง
มาตรการเยียวยา 5,000 (3 เดือน) จะเป็นการโอนผ่านบัญชีธนาคารหรือพร้อมเพย์ ดังนั้น บุคคลที่จะเข้าร่วมมาตรการได้จะต้องมีเลขที่บัญชีของ ตนเองหรือพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขบัตรประชาชนตนเองเท่านั้น
กระทรวงการคลังมีการตรวจสอบข้อมูลกับ ฐานข้อมูลของหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบว่าเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระจริงหรือไม่ และกระทรวงการคลังอาจขอเรียกเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมหรือส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบ
ระบบตอบรับหลังจากการลงทะเบียน
- ลงทะเบียนสำเร็จแสดง”เครื่องหมายถูกสีฟ้า”
- SMS หรือ e-mail แจ้งว่า “ลงทะเบียนไม่สำเร็จ” แสดงว่าข้อมูลบัตรประชาชนไม่ถูกต้อง สามารถลงทะเบียนใหม่ได้
- เมื่อลงทะเบียนใหม่ หน้าจอแสดง “ดำเนินการไม่สำเร็จ” แสดงว่า หมายเลขบัตรประชาชนหรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือถูกลงทะเบียนสำเร็จ อยู่ระหว่างตรวจสอบข้อมูล ให้รอ SMS หรือ e-mail แจ้งผลกลับ (หากได้รับ SMS หรือ e-mail แจ้ง “ข้อมูลไม่ถูกต้อง” สามารถลงทะเบียนใหม่ได้)
– ได้รับ SMS ข้อมูลตามบัตรประชาชนไม่ถูกต้อง / บัตรประชาชนหมายเลขนี้ถูกลงทะเบียนไปเรียบร้อยแล้ว
– ระบบแจ้งว่าดำเนินการไม่สำเร็จ หมายเลขบัตรประชาชนหรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือ ได้ถูกลงทะเบียนแล้ว
- ให้กดลงทะเบียนใหม่อีกครั้ง
- ถ้าหากเป็นแบบนี้ซ้ำกันหลายครั้ง ให้โทรศัพท์ติดต่อที่ธนาคารกรุงไทย หมายเลข 02 111 1111
สามารถลงทะเบียนใหม่ได้อีกครั้ง วันที่ 1 เมษายน 2563 เวลา 06.00 น. เป็นต้นไป
1. ผู้ลงทะเบียนที่สามารถแก้ไขข้อมูลได้ มีเฉพาะกรณีได้รับ SMS แจ้งผลการลงทะเบียนไม่สำเร็จเท่านั้น ซึ่งประชาชนสามารถกลับไปลงทะเบียนใหม่และระบุข้อมูลให้ถูกต้องได้ แต่หากข้อมูลการลงทะเบียนเรียบร้อยและเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคุณสมบัติแล้วจะไม่สามารถกลับไปแก้ไจข้อมูลได้และไม่สามารถลงทะเบียนซ้ำได้
2. ผู้ที่ลงทะเบียนผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ต้องการยกเลิกการลงทะเบียนระบบจะเปิดให้ยกเลิกการลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2563 [update2020-04-03 18:59:50]
- กรณีระบุเบอร์โทรศัพท์มือถือ : ขึ้นข้อความ “รอการแจ้งยืนยันผลการได้รับสิทธิตามมาตรการฯ ทาง SMS และ EMAL ที่ลงทะเบียนไว้”
- กรณีระบุเบอร์โทรศัพท์บ้าน : “รอการแจ้งยืนยันผลทางไปรษณีย์ หลังตรวจสอบข้ออมูลเสร็จสิ้น”
ระบบจะมีการแจ้งผลการตรวจสอบสิทธิ์ทั้งกรณีผ่านสิทธิ์และไม่ผ่านสิทธิ์ ผ่านทาง SMS ไปยังเบอร์โทรศัพท์มือถือและอีเมลที่ท่านลงทะเบียนไว้โดยเร็วที่สุด เริ่มทยอยแจ้งผลตั้งแต่ 8 เม.ย.63 เป็นต้นไป
มีขั้นตอน ดังนี้
- เข้าเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com
- คลิ๊ก เปลี่ยนแปลงข้อมูลการรับเงิน
- กรอกรหัสบัตรประชาชน 13 หลัก
- กรอกหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้ลงทะเบียน
- กรอก วัน เดือน ปีเกิด
- คลิ๊ก เปลี่ยนแปลงข้อมูลการรับเงิน
หมายเหตุ :
- ใช้ได้เฉพาะ “ผู้ได้รับสิทธิที่ชื่อบัญชีไม่ตรงกับชื่อนามสกุลที่ลงทะเบียน”
- ระบบจะให้เปลี่ยนแปลงข้อมูลการรับเงินได้เพียงครั้งเดียว ดังนั้น ผู้ลงทะเบียนจะต้องตรวจสอบเลขที่บัญชีธนาคาร และธนาคารเจ้าของบัญชีให้ถูกต้องรวมถึงชื่อ – นามสกุลบัญชีธนาคาร ต้องตรงกับ ชื่อ – นามสกุลของผู้ลงทะเบียน หรือ ประชาชนสามารถเลือกช่องทางการรับเงินตามมาตรการเยียวยาผ่านทางพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชนได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งช่องทางพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขบัตรประชาชนจะสะดวกสำหรับ ประชาชน ในกรณี ที่ประชาชนจะประสงค์เปลี่ยนแปลงธนาคารในอนาคต
- สำหรับท่านที่แก้ไขข้อมูลบัญชีสำเร็จ ระบบจะโอนเงินซ้ำในวันที่ 22 และ 29 เมษายน 2563
เฉพาะกรณีคนที่ลงทะเบียนไปแล้ว และไม่ประสงค์จะลงทะเบียนอีก
- ยกเลิกการลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com
- คลิ๊กเลือกที่เมนู ยกเลิกการลงะเบียน
- กรอกหมายเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก /หมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้ลงทะเบียน/ วัน เดือน ปีเกิด
- คลิ๊ก ปุ่มยกเลิกลงทะเบียน (แถบสีแดง) จะปรากฎข้อความดังนี้
ขอยกเลิกการลงทะเบียน มาตรการเยียวยาฯ
“ข้าพเจ้าขอรับรองว่าการยกเลิกการลงทะเบียนเป็นการกระทำของข้าพเจ้าในขณะที่มีสติสัมปชัญญะครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจบังคับของผู้ใด และไม่ได้เกิดจากการสำคัญผิดแต่ประการใด ทั้งนี้ข้าพเจ้าตกลงไม่ประสงค์จะลงทะเบียนอีกในอนาคตรวมถึงเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรการนี้” - ผู้ลงทะเบียนอ่านข้อความและเลือกเมนู ยืนยันและดำเนินการต่อ (แถบตัวอักษรสีน้ำเงิน)
- สามารถตรวจสอบสถานะการลงทะเบียนได้ที่ธนาคารกรุงไทย โทร. 02 111 1144
- อย่างไรก็ดี ก่อนให้ทำการยกเลิก จะต้องระบุหมายเลขประจำตัวประชาชน หมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้ลงทะเบียน วันเดือนปีเกิด เพื่อเป็นการยืนยันตัวตน ว่าเป็นผู้ลงทะเบียนจริง ๆ
- ทั้งนี้ เมื่อยกเลิกการลงทะเบียนแล้ว จะไม่สามารถลงทะเบียนหรือเข้าไปแก้ไขข้อมูลใด ๆ ได้ ขอให้ประชาชนอ่านข้อความยินยอมก่อนกดยกเลิก ซึ่งข้อความยินยอมระบุ ดังนี้ “ข้าพเจ้าขอรับรองว่าการยกเลิกการลงทะเบียนเป็นการกระทำของข้าพเจ้าในขณะที่มีสติสัมปชัญญะครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจบังคับของผู้ใด และไม่ได้เกิดจากการสำคัญผิดแต่ประการใด ทั้งนี้ ข้าพเจ้าตกลงไม่ประสงค์จะลงทะเบียนอีกในอนาคตรวมถึงเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรการนี้”
- หากได้รับ SMS ยืนยันว่าได้รับสิทธิ์ ระบบจะโอนเงินโดยเร็วที่สุด โดยสามารตรวจสอบเงินในบัญชีได้ภายในวันรุ่งขึ้นเป็นต้นไป
จะตรวจสอบข้อมูลเกษตรกรอย่างไร
- เกษตรกรจะมีการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทุกปีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการขึ้นทะเบียนจะเป็นราย “ครอบครัว”
- โดยให้หัวหน้าครอบครัวเป็นคนมาขึ้นทะเบียนและในการกรอกรายละเอียดสมาชิกในครอบครัวจะให้ระบุด้วยว่ามีสมาชิกในครอบครัวกี่คนเป็นใครบ้าง
และสมาชิกในครอบครัวที่ช่วยทำเกษตรกรรมมีกี่คนคือใครบ้าง - ที่ผ่านมารัฐบาลใช้ฐานข้อมูลเกษตรกรชุดเดียวกันนี้ในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรไม่ว่าจะเป็นค่าเพาะปลูกค่าเก็บเกี่ยวค่าปัจจัยการผลิตเป็นต้น
- ดังนั้น ในการคัดกรองของมาตรการเยียวยา 5,000 บาทกำหนดหลักเกณฑ์ให้ครอบครัวที่ขึ้นทะเบียนผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและสมาชิกในครอบครัวที่ช่วยทำเกษตรกรรมถือว่าเป็นกลุ่มเกษตรกรไม่ผ่านเกณฑ์
- และจะมีการดูแลโดยมาตรการเยียวยากลุ่มเกษตรกรโดยเฉพาะที่จะออกมาเร็วๆนี้
Application Farmbook
- สามารถแจ้งยกเลิกการเป็นสมาชิกครัวเรือนเกษตรกร ในรายที่ไม่ได้ช่วยทำการเกษตรแล้ว
- ระบบมีการบันทึกประวัติการยกเลิกและการเพิ่มสมาชิกในครัวเรือนเพื่อเป็นหลักฐานไว้
- ก่อนทำการยกเลิกให้ Update Application ก่อน ในขณะนี้สามารถทำได้เฉพาะ Android ส่วน iOS อยู่ในขั้นตอนการปรับปรุง
สำหรับ ผู้ไม่ผ่านการคัดกรองมาตรการเยียวยา 5,000 บ.
- สามารถยื่นขอรับการทบทวนสิทธิ์ ในวันที่ 20 เม.ย. 63
- ผ่านเว็บไซต์ เราไม่ทิ้งกัน.com คลิกปุ่ม ขอทบทวนสิทธิ์
**ไม่รับยื่นเอกสาร ไม่ต้องเดินทางไปติดต่อสถาบันการเงินหรือหน่วยราชการ
สถานะ “อยู่ระหว่างการตรวจสอบ”
ตัวเลขผู้ได้รับสิทธิ์เงินเยียวยาตามมาตรการ 5,000 บาท (3 เดือน) จำนวน 3 ล้านคนเป็นตัวเลขที่กระทรวงการคลังประมาณการไว้เบื้องต้น ดังนั้น หากมีจำนวนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19 ที่เป็นกลุ่มแรงงาน ลูกจ้าง หรืออาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบ COVID-19 โดยตรงมีจำนวนมากกว่าที่กระทรวงการคลังประมาณการไว้ รัฐบาลก็พร้อมจะจัดสรรเงินช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและให้เกิดความครอบคลุมมากที่สุด
ตั้งแต่มีการเปิดรับลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2563 เป็นต้นมา กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พยายามเร่งกระบวนการตรวจสอบและคัดกรองผู้ลงทะเบียนกว่า 27 ล้านคน เพื่อให้เงินเยียวยาถึงมือทุกคนที่ได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็วที่สุด โดยตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2563 เป็นต้นมา กระทรวงการคลังได้มีการจ่ายเงินเยียวยา 5,000 บาท ต่อเนื่องทุกวัน (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
การตรวจสอบและคัดกรองผู้ลงทะเบียนแต่ละคน จะใช้ระยะเวลามากน้อยไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ถูกต้องของข้อมูลตามบัตรประชาชนของผู้ลงทะเบียน การประกอบอาชีพที่ผู้ลงทะเบียนได้ระบุ ซึ่งต้องนำไปตรวจสอบข้อมูลกับฐานข้อมูลของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องด้วย เพื่อให้มั่นใจว่างบประมาณของแผ่นดิน ที่รัฐบาลได้จัดสรรมาจะตกถึงมือผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง ระบบจะแจ้งผลการตรวจสอบสิทธิ์ผ่านทาง SMS ไปยังเบอร์โทรศัพท์มือถือและอีเมลที่ท่านลงทะเบียนโดยเร็วที่สุด หรือสามารถตรวจสอบสถานะการลงทะเบียนของท่านได้ที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com
กรณีผู้ลงทะเบียนตรวจสอบสถานะการลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com และปรากฏสถานะว่า “อยู่ระหว่างการตรวจสอบ” ซึ่งแปลว่าระบบอยู่ระหว่างการตรวจสอบและคัดกรองข้อมูลของผู้ลงทะเบียน ผู้ลงทะเบียนยังไม่ต้องดำเนินการใด ๆ
กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พยายามเร่งกระบวนการตรวจสอบและคัดกรอง ผู้ลงทะเบียนกว่า 27 ล้านคน เพื่อให้เงินเยียวยาถึงมือทุกคนที่ได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็วที่สุด
ระบบจะแจ้งผลการตรวจสอบสิทธิ์ผ่านทาง SMS ไปยังเบอร์โทรศัพท์มือถือและอีเมลที่ท่านลงทะเบียนโดยเร็วที่สุด หรือสามารถตรวจสอบสถานะการลงทะเบียนของท่านได้ที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com
กระทรวงการคลังได้เตรียมกลไกการทบทวนสิทธิ์ให้แก่ผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิ์และประสงค์จะขอทบทวนสิทธิ์ และสำหรับกลไกการดำเนินการทบทวนสิทธิ์จะมีเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อยืนยันตัวตนและความเดือดร้อนของ ผู้ลงทะเบียน เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการพิจารณาให้สิทธิ์รับเงินเยียวยาต่อไป
กรณีผู้ลงทะเบียนตรวจสอบสถานะการลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com และปรากฏสถานะว่า “อยู่ระหว่างการตรวจสอบ” ซึ่งแปลว่าระบบอยู่ระหว่างการตรวจสอบและคัดกรองข้อมูลของ ผู้ลงทะเบียน ไม่ได้แปลว่าไม่ได้รับสิทธิ์
ทั้งนี้ กรณีไม่ได้รับสิทธิ์ จะมี SMS แจ้งไปยังเบอร์โทรศัพท์มือถือที่ท่านระบุไว้ ว่า “ไม่ได้รับสิทธิ์” และหากตรวจสอบสถานะผ่านทางเว็บไซต์จะปรากฏสถานะว่า “ไม่ได้รับสิทธิ์ เนื่องจาก … (แสดงเหตุผล)”
ตัวเลขผู้ได้รับสิทธิ์เงินเยียวยาตามมาตรการ 5,000 บาท (3 เดือน) จำนวน 3 ล้านคนเป็นตัวเลขที่ กระทรวงการคลังประมาณการไว้เบื้องต้น ดังนั้น หากมีจำนวนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19 ที่เป็นกลุ่มแรงงาน ลูกจ้าง หรืออาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบ COVID-19 โดยตรงมีจำนวนมากกว่าที่กระทรวงการคลังประมาณการไว้ รัฐบาลก็พร้อมจะจัดสรรเงินช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและให้เกิดความครอบคลุมมากที่สุด
ลักษณะการประกอบอาชีพก่อสร้างส่วนใหญ่ยังสามารถดำเนินได้ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการปิดสถานที่จากคำสั่งของทางราชการค่อนข้างจำกัด อย่างไรก็ดี หากประชาชนที่มีอาชีพก่อสร้างและได้รับผลกระทบจากระบาดของโรคโควิต-19 แต่ได้รับแจ้งว่าไม่ได้สิทธิ์เข้าร่วมมาตรการเยียวยา 5000 (3 เดือน) กระทรวงการคลังได้เปิดให้ยื่นขอทบทวนสิทธิ์ โดยจะมีเจ้าหน้าที่การลงพื้นที่เพื่อยืนยันตัวตนและความเดือดร้อนของผู้ลงทะเบียน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสามารถจัดสรรเงินเยียวยาให้กับผู้ที่สมควรจะได้รับอย่างแท้จริง ซึ่งผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิ์และประสงค์จะยื่นขอทบทวนสิทธิ์ สามารถยื่นขอทบทวนสิทธิ์ได้ ผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com เริ่มตั้งแต่วันที่ 20 เม.ย. 2563
มาตรการฯ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเยียวยาให้กับแรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการหยุดประกอบกิจการของสถานประกอบการที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในประเทศไทยเป็นหลัก
ในกรณีการกรอกให้ข้อมูลเท็จและตรวจสอบพบภายหลังว่าเป็นผู้ไม่มีสิทธิในการรับเงินช่วยเหลือจากมาตรการฯ ภาครัฐมีสิทธิสั่งระงับการจ่ายเงินชดเชยตามมาตรการฯ โดยผู้ได้รับเงินเยียวยาที่ไม่มีสิทธิในมาตรการฯ จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายเงินชดเชยที่ได้รับไปแล้วคืนให้แก่รัฐภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการระงับสิทธิดังกล่าว ตามวิธีการที่กระทรวงการคลังหรือผู้จัดทำระบบให้กระทรวงการคลังกำหนด ทั้งนี้ ในกรณีที่รัฐ ได้ดำเนินการข้างต้นแล้ว รัฐอาจใช้สิทธิในการที่จะดำเนินคดีทางแพ่งหรือทางอาญาต่อไป
นอกจากนี้ ในกรณีการให้ข้อมูลเท็จโดยเจตนา ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 3 ปี ปรับสูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ซึ่งจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับ ไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยในกรณีที่เป็นการให้ข้อมูลเท็จโดยมิได้มีเจตนาและถูกดำเนินการทางกฎหมาย ในชั้นศาลจะมีกระบวนการพิสูจน์ข้อเท็จจริงต่อไป
ทั้งนี้ หากผู้ได้รับสิทธิ์ที่ได้รับเงินเยียวยาแล้วประสงค์คืนเงิน กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างกำหนด แนวทางการคืนเงืนสำหรับผู้ที่ได้รับสิทธิ์ โดยจะประกาศให้ทราบโดยเร็ว
ขณะนี้ระบบการนำส่งข้อมูลเพิ่มเติม ไม่ได้มีการขอให้แนบเอกสารหรือหลักฐานใด ๆ เข้าสู่ระบบ แต่ผู้ลงทะเบียนสามารถระบุชื่อสถานประกอบการ หรือระบุที่ตั้งของสถานประกอบการหรือที่อยู่อาศัย โดยการระบุเป็นข้อความ หรือ โดยการปักหมุดในแผนที่ได้ ทั้งนี้ ขอให้ท่านให้ข้อมูลที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เพื่อนำมาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาสิทธิ์การได้รับเงินเยียวยา
สามารถร้องเรียนได้ที่ Call Center สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02-273-9020 (เฉพาะวันและเวลาราชการ) และ Call Center ธนาคารกรุงไทย โทร. 02-111-1144 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
หากท่านไม่ได้รับสิทธิ์ เนื่องจากเป็นสมาชิกในครัวเรือนเกษตรกร แต่ปัจจุบันไม่ได้ประกอบการเกษตรกรแล้ว ท่านสามารถยื่นขอทบทวนสิทธิ์ได้ ตั้งแต่วันที่ 20 เม.ย. 2563 ผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com โดยจะมีเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบหน้างาน ทั้งนี้ ผู้ผ่านการทบทวนสิทธิ์จะยังได้รับเงินเยียวยาครบทั้ง 3 เดือน เนื่องจากการให้เงินเยียวยาจะใช้วันลงทะเบียนในการเริ่มนับสิทธิ์
ข้อมูลอื่น ๆ
- โปรดติดต่อธนาคารกรุงไทยทุกสาขาทั่วประเทศเพื่อทำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐใหม่
- โทร. 02 109 2345
สอบถามเพิ่มเติม
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
- โทร 0 2273 9020 ต่อ 3558 , 3421-25 , 3427 , 3429-30 และ 3572
ปัญหาเกี่ยวกับการลงทะเบียนออนไลน์
- Call Center ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ตลอด 24 ชม.
- 02-111-1144
- 02-111-1111