ความเป็นมา
หน้ากากผ้าเป็นทางเลือกสำหรับประชาชนที่ไม่ป่วยและมีความเสี่ยงต่ำกว่าบุคลากรทางการแพทย์ในภาวะขาดแคลนหน้ากากอนานัยทางการแพทย์ ที่สำคัญคือสามารถทำเองได้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกรมอนามัย จึงได้ทำการศึกษาชนิดของผ้าต่างๆ ที่น่าจะมีความเหมาะสมในการนำมาใช้ คือ
- สามารถกันอนุภาคขนาดเล็ก
- ป้องกันการซึมผ่านของละอองน้ำ
- สามารถนำไปซักได้หลายครั้งรวมถึงหาได้ง่ายทั่วไป
ชนิดผ้าที่ทำการศึกษาเปรียบเทียบ
- ผ้าฝ้ายดิบ
- ผ้าฝ้ายมัสลิน
- ผ้าสาลู
- ผ้านาโน
- ผ้ายืด
ผลการทดสอบ
- ส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์เพื่อศึกษาเส้นใยผ้าในการกันอนุภาค
- พบว่ามีผ้า 3 ชนิดคือ ผ้าฝ้ายดิบ ผ้าฝ้ายมัสลินและผ้านาโน เมื่อนำผ้ามาประกอบกัน 2 ชั้นและส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์เส้นใยผ้าสามารถกันอนุภาคได้ใกล้เคียงหน้ากากอนามัยทางการแพทย์
- ทดสอบการเป็นขุยด้วยวิธีการซัก
- ศึกษาจำนวนครั้งของการซักล้างในผ้า 3 ชนิด
- ผ้าฝ้ายดิบและผ้าฝ้ายมัสลิน สามารถซักได้มากกว่า 100 ครั้ง โดยคุณภาพของเนื้อผ้าไม่เสื่อม
- ทดสอบประสิทธิภาพการต้านการซึมผ่านของละอองน้ำ
- พบว่าผ้าฝ้ายมัสลินและผ้าสาลูสามารถต้านการซึมผ่านได้ดีที่สุด
สรุปผลการทดสอบหน้ากากผ้า
สรุปว่า ผ้าฝ้ายมัสลิน มีความเหมาะสม ในการนำมาใช้ทำหน้ากากผ้า 2 ชั้นมากกว่าผ้าชนิดอื่น เนื่องจากมีประสิทธิภาพดีหลายด้าน คือ
- สามารถกันละอองน้ำได้ดีที่สุด เมื่อเทียบกับผ้าชนิดอื่น
- เส้นใยผ้าสามารถกันอนุภาคได้ดีกว่าผ้าชนิดอื่น
- สามารถนำมาใช้งานได้หลายครั้ง
คำแนะนำในการใช้หน้ากากผ้า
- เพื่อความสะอาดของหน้ากากผ้า ควรซักล้างและตากแห้งทุกวัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
- ประชาชนต้องป้องกันตัวเองโดยไม่เอามือไปสัมผัส หน้ากาก ขณะสวมใส่เพื่อไม่ให้เชื้อโรคมาติด ซึ่งอาจจะเข้าสู่จมูกหรือปากได้และล้างมือบ่อยๆ
ลักษณะของหน้ากากผ้าควรเป็นอย่างไร
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
ที่มา
Post Views:
2,940