การรับแจ้งการเกิด กรณีเด็กเร่ร่อน หรือเด็กที่ไม่ปรากฎบุพการี หรือบุพการีทอดทิ้งที่อยู่ในอุปการะ หรือการสงเคราะห์
หลักเกณฑ์ / เงื่อนไข
- ผู้ยื่นคำร้อง ได้แก่
- กรณีเด็กในสภาพแรกเกิดหรือเด็กไร้เดียงสาซึ่งถูกทอดทิ้ง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่รับตัวเด็กไว้
- เด็กเร่ร่อนหรือเด็กที่ไม่ปรากฎบุพการี หรือบุพการีทอดทิ้งซึ่งอยู่ในการอุปการะของของหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานเอกชนที่จดทะเบียนตามกฎหมายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการช่วยเหลือเด็ก ได้แก่ หัวหน้าหน่วยงาน หรือผู้ได้รับมอบหมาย
- ผู้ยื่นคำร้อง ได้แก่
ขั้นตอนในการดำเนินการ (90 วัน)
- เจ้าหน้าที่รับเรื่องคำขอ และตรวจสอบหลักฐานการยื่นประกอบพิจารณาในเบื้องต้น
- รวบรวมหลักฐาน เสนอให้นายอำเภอแห่งท้องที่ พิจารณาอนุมัติ/ไม่อนุมัติ และแจ้งผลการพิจารณาให้นายทะเบียนทราบ
- นายทะเบียนพิจารณารับแจ้งการเกิด และแจ้งผลการพิจารณา
เอกสาร / หลักฐาน
- บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง 1 ฉบับ)
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน ท.ร.14 (ฉบับจริง 1 ฉบับ) (ของสถานสงเคราะห์หรือที่เรียกชื่ออื่น ซึ่งรับตัวเด็กที่แจ้งเกิดไว้)
- บันทึกการรับตัวเด็กไว้ (ฉบับจริง 1 ฉบับ / สำเนา 1 ฉบับ) (ที่ออกโดย พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
- หลักฐานสำหรับรับตัวเด็กไว้ (ฉบับจริง 1 ฉบับ)
- รูปถ่ายเด็ก 2 นิ้ว 2 รูป (ฉบับจริง 1 ฉบับ)
- หลักฐานอื่นที่เกี่ยวกับเด็ก หรือหลักฐานเอกสาร และวัตถุพยาน (ฉบับจริง 1 ฉบับ) (ถ้ามี)
- หนังสือมอบหมาย (ถ้ามี) (ฉบับจริง 1 ฉบับ) (กรณีที่มอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้แจ้ง)
สถานที่ในการให้บริการ
- สำนักทะเบียนอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น (ที่หน่วยงานสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานเอกชนที่สงเคราะห์ช่วยเหลือเด็กตามรายชื่อหน่วยงานที่กระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนด รับตัวเด็กไว้ตั้งอยู่)
Post Views:
419