การรับมรดกที่ดินและจดทะเบียนผู้จัดการมรดก
การขอตั้งผู้จัดการมรดก
เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นย่อมตกทอดแก่ทายาท เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายมีทรัพย์สินจำนวนมากตกทอดแก่ทายาท อาจจะเป็นทายาทโดยธรรมหรือทายาทโดยพินัยกรรม ในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งมีทะเบียน เช่น โฉนดที่ดิน ทะเบียนรถยนต์ ทะเบียนอาวุธปืน เป็นต้น ทรัพย์สินเหล่านี้ในการจัดการมรดก เจ้าพนักงานจะไม่ดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนหากไม่มีคำสั่งศาลตั้งผู้จัดการมรดกตามกฎหมายเสียก่อน ด้วยเหตุขัดข้องดังกล่าวจึงทำให้ราษฎรจำนวนมากต้องมายื่นคำร้องขอความช่วยเหลือต่อสำนักงานอัยการสูงสุด
ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมายหรือทายาทโดยธรรมมี 6 ลำดับดังนี้
- ผู้สืบสันดาน (บุตร, หลาน, เหลน, ลื้อ)
- บิดา มารดา
- พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
- พี่น้องร่วมบิดา หรือร่วมมารดาเดียวกัน
- ปู่ ย่า ตา ยาย
- ลุง ป้า น้า อา
เอกสารหลักฐานต้องนำไปประกอบการขอรับมรดก
- โฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองทำประโยชน์
- บัตรประจำตัว
- ทะเบียนบ้าน
- หลักฐานการตายของเจ้ามรดก เช่น มรณบัตร
- พินัยกรรม (ถ้ามี)
- ถ้าผู้ขอ ขอรับมรดกในฐานะเป็นคู่สมรส ต้องมีหลักฐานการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย
- ถ้าผู้ขอรับมรดกเป็นบิดาเจ้ามรดก ต้องมีทะเบียนสมรสกับมารดาของเจ้ามรดกหรือหลักฐานการรับรองบุตร
- กรณีบุตรบุญธรรมเป็นผู้ขอรับมรดก ต้องแสดงหลักฐานการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
- ถ้ามีกรณีพิพาทเกี่ยวกับมรดก ต้องนำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือคำพิพากษาอันถึงที่สุดไปแสดง
- ถ้ามีผู้มีสิทธิรับมรดกร่วมกันหลายคน บางคนได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว ต้องมีหลักฐานการตายของทายาทนั้น ๆ
ในกรณีที่มีผู้จัดการมรดก หลักฐานที่ต้องนำไป
- คำสั่งศาลหรือคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุด หรือพินัยกรรมซึ่งตั้งให้ผู้ขอเป็นผู้จัดการมรดก
- หลักฐานการตายของเจ้ามรดก
- ทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวของผู้จัดการมรดก
- โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์
- ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน
- ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท
- ค่าประกาศมรดก แปลงละ 10 บาท
- ค่าจดทะเบียนผู้จัดการมรดก แปลงละ 50 บาท
- ค่าจดทะเบียนโอนมรดก ร้อยละ 2 ตามราคาประเมินทุนทรัพย์
- ในกรณีโอนมรดกระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือระหว่างคู่สมรส เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ ร้อยละ ๐.๕
การขอตั้งผู้จัดการมรดก
เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นย่อมตกทอดแก่ทายาท เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายมีทรัพย์สินจำนวนมากตกทอดแก่ทายาท อาจจะเป็นทายาทโดยธรรมหรือทายาทโดยพินัยกรรม ในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งมีทะเบียน เช่น โฉนดที่ดิน ทะเบียนรถยนต์ ทะเบียนอาวุธปืน เป็นต้น ทรัพย์สินเหล่านี้ในการจัดการมรดก เจ้าพนักงานจะไม่ดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนหากไม่มีคำสั่งศาลตั้งผู้จัดการมรดกตามกฎหมายเสียก่อน ด้วยเหตุขัดข้องดังกล่าวจึงทำให้ราษฎรจำนวนมากต้องมายื่นคำร้องขอความช่วยเหลือต่อสำนักงานอัยการสูงสุด
ผู้มีสิทธิร้องขอรับความช่วยเหลือ
- ทายาท ทายาทโดยพินัยกรรม หรือทายาทโดยธรรม เช่น บิดา มารดา บุตร คู่สมรส พี่น้อง ปู่ย่าตายาย ลุงป้าน้าอา
- ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น เจ้าหนี้ เจ้าของรวม
- พนักงานอัยการ (โดยมีทายาทมาร้องขอ)
สถานที่ยื่นคำขอ
- สำนักงานอัยการในท้องที่ที่ผู้ตายมีภูมิลำเนา (ตามทะเบียนบ้านของผู้ตาย)
- ถ้าผู้ตายไม่มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักร ให้ขอความช่วยเหลือที่สำนักงานอัยการที่ทรัพย์สินทั้งอยู่ในเขต
เอกสาร / หลักฐาน
- ทะเบียนบ้านของผู้ตาย
- มรณบัตรของผู้ตาย
- ทะเบียนบ้านของผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
- บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการของผู้ร้องขอ
- ถ้าเป็นบุตรต้องใช้สูติบัตร
- ทะเบียนสมรส
- เอกสารเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย
- พินัยกรรม (ถ้ามี)
- บัญชีเครือญาติ
- หนังสือให้ความยินยอม
- ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ให้ความยินยอมทุกคน
- เอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับคดี
อัตราค่าธรรมเนียม
ค่าใช้จ่ายในการยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก
- ประชาชนผู้ยื่นคำขอจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้แก่พนักงานอัยการ แต่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในชั้นศาล
ค่าใช้จ่ายในการร้องขอจัดการมรดก
- ศาลแพ่งไม่คิดค่าใช้จ่ายในการขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก และทำคำร้องขอตั้ง ผู้จัดการมรดกแต่อย่างใด โดยผู้ร้องจะเสียค่าใช้จ่ายดังนี้
- ค่าใช้จ่ายในวันทำคำร้องและยื่นคำร้อง
- ค่าขึ้นศาล จำนวน 200 บาท
- ค่าประกาศหนังสือพิมพ์ให้ผู้มีส่วนได้เสียทราบ จำนวน 500 บาท
- ค่าใช้จ่ายในวันนัดไต่สวนคำร้อง
- ค่าถ่ายเอกสารคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก หน้าละ 2 บาท
- ค่ารับรองสำเนาคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ฉบับละ 50 บาท
- ค่าใช้จ่ายในวันทำคำร้องและยื่นคำร้อง
- ศาลแพ่งไม่คิดค่าใช้จ่ายในการขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก และทำคำร้องขอตั้ง ผู้จัดการมรดกแต่อย่างใด โดยผู้ร้องจะเสียค่าใช้จ่ายดังนี้
ขั้นตอนการขอรับมรดก
กรณีต้องประกาศเช่น ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม
- ประชาสัมพันธ์ – จ่ายบัตรคิว
- รับคำขอและสอบสวน
- ตรวจสอบสารบบและหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน
- ลงบัญชีรับทำการ
- ตรวจอายัด
- เขียนใบสั่ง, ใบเสร็จ และรับเงินค่าธรรมเนียมคำขอ
- ทำการประกาศมรดก มีกำหนด 30 วัน
- เจ้าหน้าที่พิมพ์ประกาศ
- ส่งประกาศไปปิดตามสถานที่ ๆ กฎหมายกำหนด ได้แก่ สำนักงานที่ดินท้องที่ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ สำนักงานเทศบาล ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล ที่ทำการแขวงหรือที่ทำการกำนันท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่และบริเวณที่ดินนั้นแห่งละหนึ่งฉบับ
- พนักงานเจ้าหน้าที่มีหนังสือส่งประกาศไปให้บุคคลที่ผู้ขอแจ้งว่าเป็นทายาททุกคนทราบเท่าที่จะทำได้
- ประกาศครบกำหนด 30 วัน ไม่มีผู้โต้แย้งคัดค้าน
- ทำหนังสือแจ้งผู้ขอมาดำเนินการเพื่อจดทะเบียน
- ตรวจอายัด เสนอเจ้าพนักงานที่ดิน สั่งจดทะเบียนผู้จัดการมรดกและโอนมรดก
- ประเมินทุนทรัพย์
- เขียนใบสั่ง, ใบเสร็จและรับเงินค่าธรรมเนียม
- แก้สารบัญจดทะเบียน
- เจ้าพนักงานที่ดินลงนามจดทะเบียนและประทับตรา
- แจกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน
กรณีไม่ต้องประกาศเช่น ศาลตั้งผู้จัดการมรดก
- ประชาสัมพันธ์ – จ่ายบัตรคิว
- รับคำขอและสอบสวน
- ตรวจสอบสารบบและหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน
- ลงบัญชีรับทำการ
- ตรวจอายัด
- เสนอเจ้าพนักงานที่ดิน สั่งจดทะเบียนผู้จัดการมรดกและโอนมรดก
- ประเมินราคาทุนทรัพย์
- เขียนใบสั่ง ใบเสร็จและรับเงินค่าธรรมเนียม
- แก้สารบัญจดทะเบียน
- เจ้าพนักงานที่ดินลงนามจดทะเบียนและประทับตรา
- แจกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน
หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย