การจดทะเบียนหอพัก
ความหมาย
- บุคคลใดจัดสถานที่เพื่อรับผู้พักเข้าพักอาศัยโดยเรียกเก็บค่าเช่า ให้ถือว่าบุคคลนั้นประกอบกิจการหอพัก
- พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่หอพักของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่ไม่ใช่สถานศึกษา
- หอพักมี 2 ประเภท ได้แก่ หอพักชาย และ หอพักหญิง
คุณลักษณะของหอพัก
- ต้องแยกประเภทของหอพักไว้อย่างชัดเจนว่าเป็นหอพักชายหรือหอพักหญิง โดยติดป้ายชื่อหอพักชายหรือหญิงไว้อย่างเปิดเผย และเห็นได้ง่ายจากภายนอกอาคาร
- ห้องนอน ต้องมีขนาด ความจุอากาศไม่น้อยกว่าเก้าลูกบาศก์เมตร ต่อผู้พักหนึ่งคน ผู้พักที่มีอายุต่ำกว่าสิบปี สองคนให้นับเป็นหนึ่งคน
- ห้องน้ำ ต้องมีพื้นที่ห้องซึ่งไม่ดูดน้ำจากใต้พื้นและไม่มีน้ำขัง
- ห้องส้วมต้องมีส้วมแบบส้วมซึม พื้นห้องไม่ดูดซึมน้ำจากใต้พื้น และไม่มีน้ำขัง
- ห้องต้อนรับผู้เยี่ยมเยือน ต้องมีเนื้อที่ของพื้นห้องไม่น้อยกว่า 8 ตารางเมตร
- ห้องอาคาร ต้องมีเนื้อที่ของพื้นห้อง ไม่น้อยกว่า 9 ตารางเมตร
- ทุกห้องต้องมีช่องแสงสว่าง และช่องระบายอากาศถ่ายเทได้สะดวก
- ต้องมีบันไดหนีไฟสำหรับอาคารตั้งแต่ 4 ชั้นขึ้นไปและอาคาร 3 ชั้นที่มีชั้นลอยเป็นห้องพัก หน้าต่างเหล็กดัดต้องสามารถเปิดออกไปยังบันไดหนีไฟได้ทุกชั้น ยกเว้นถ้าอาคารดังกล่าวมีบันไดขึ้นลงสองทางไม่ต้องจัดทำบันไดหนีไฟ
- ต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิงทุกชั้นๆละ 1 เครื่อง ในกรณีที่มีหอพักขนาดใหญ่ อาจมีระบบเตือนภัย เมื่อมีกรณีฉุกเฉินหรือมีภัยอันตราย ผู้พักสามารถใช้ได้ทันที
- บริการพิเศษ เช่น ยาสามัญประจำบ้าน น้ำดื่มที่สะอาด ห้องพักผ่อนมีหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และวีดิทัศน์ให้ชมตามโอกาสอันสมควร หรืออาจจะจัดทำเป็นห้องสมุด ห้องกีฬาในร่ม หรือห้องปฏิบัติศาสนกิจแล้วแต่จะเห็นสมควร
เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนหอพัก
- แบบคำร้อง (แบบพิมพ์หมายเลข 7 )
- แบบ พ. ๑ (คำขออนุญาตตั้งหอพัก)
- แบบ พ. ๒ (คำขออนุญาตเป็นผู้จัดการหอพัก)
- หนังสือแต่งตั้งผู้จัดการหอพัก (ในกรณีที่เจ้าของและผู้จัดการหอพักมิใช่คนเดียวกัน)
- ระเบียบประจำหอพัก
- รูปถ่ายเจ้าของ และผู้จัดการหอพักขนาด 3 นิ้ว ถ่ายหน้าตรง ไม่สวมหมวก แว่นตาดำ และรูปถ่ายไม่เกิน 6 เดือน จำนวนอย่างละ 2 รูป รวม 4 รูป
- สำเนาทะเบียนบ้านจำนวน 1 ฉบับ
- สำเนาบัตรประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ บัตรประจำตัวพนักงานรัฐวิสาหกิจ 1 ฉบับ
- ใบรับรองแพทย์ จำนวน 1 ฉบับ
- แบบแปลน แสดงโครงสร้างอาคารจำนวน 2 ชุดประกอบด้วย
– รูปแสดงอาคารด้านหน้า ด้านข้าง
– รูปแสดงแปลนพื้นแต่ละชั้น (รายละเอียดของห้องพัก ห้องน้ำ ห้องส้วม ทางเดิน ประตู หน้าต่างพร้อมระบุความกว้างยาวของแต่ละห้อง)
– แผนที่สังเขปแสดงที่ตั้งของหอพัก
ค่าธรรมเนียมหอพัก
- ใบอนุญาตประกอบกิจการหอพัก
- (ก) หอพักที่มีห้องพักไม่เกินห้าสิบห้อง หรือมีพื้นที่ทุกห้องรวมกันไม่เกินหนึ่งพันตารางเมตร ฉบับละ 3,000 บาท
- (ข) หอพักที่มีห้องพักเกินห้าสิบห้องแต่ไม่เกินหนึ่งร้อยห้อง หรือมีพื้นที่ทุกห้องรวมกันเกินหนึ่งพันตารางเมตร แต่ไม่เกินสองพันตารางเมตร ฉบับละ 4,000 บาท
- (ค) หอพักที่มีห้องพักเกินหนึ่งร้อยห้อง หรือมีพื้นที่ทุกห้องรวมกันเกินสองพันตารางเมตร ฉบับละ 5,000 บาท
- ใบอนุญาตผู้จัดการหอพัก
- (ก) หอพักตาม (๑) (ก) ฉบับละ 500 บาท
- (ข) หอพักตาม (๑) (ข) ฉบับละ 750 บาท
- (ค) หอพักตาม (๑) (ค) ฉบับละ 1,000 บาท
- การต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการหอพัก ครั้งละกึ่งหนึ่งของค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการหอพักนั้น
- การต่ออายุใบอนุญาตผู้จัดการหอพัก ครั้งละกึ่งหนึ่งของค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผู้จัดการหอพักนั้น
- การโอนใบอนุญาตประกอบกิจการหอพัก ครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการหอพักนั้น
- ใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการหอพัก ฉบับละ 200 บาท
- ใบแทนใบอนุญาตผู้จัดการหอพัก ฉบับละ 100 บาท
- ใบอนุญาตประกอบกิจการหอพัก
หมายเหตุ : ใบอนุญาตประกอบกิจการหอพักเอกชน มีอายุ 5 ปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
สถานที่ติดต่อ
- ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร : งานหอพัก สำนักงานเขตในพื้นที่
- ส่วนภูมิภาค องค์การบริหารส่วนตำบล หรือ เทศบาล ในพื้นที่
หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
Post Views:
2,002