การขอใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว (work permit )
คุณสมบัติของคนต่างด้าวที่จะขอใบอนุญาตทำงานได้
- มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (มิใช่นักท่องเที่ยวหรือผู้เดินทางผ่าน)
- ต้องไม่ขอทำงานที่ห้ามไว้ในพระราชกฤษฎีกา (39 อาชีพ)
- มีความรู้ความสามารถในการทำงานตามที่ขอรับใบอนุญาตทำงาน
- ต้องไม่เป็นคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
- ต้องไม่เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคเรือน วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะปรากฏอาการเป็นที่น่ารังเกียจแก่สังคม โรคยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง โรคพิษสุราเรื้อรัง
- ต้องไม่เคยต้องโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองหรือตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว ภายในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต
คนต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงานแล้วต้องปฏิบัติ ดังนี้
- มีใบอนุญาตติดตัวไว้หรือมีอยู่ ณ ที่ทำงานในระหว่างทำงานเพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่ได้ตลอดเวลา)
- ต้องทำงานตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น หากประสงค์จะทำงานอื่น หรือเปลี่ยนท้องที่หรือสถานที่ในการทำงาน ต้องได้รับอนุญาตก่อน
- คนต่างด้าวที่ได้รับการขยายระยะเวลาการทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือกฎหมายอื่น ต้องแจ้งภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับการขยายระยะเวลา
- ก่อนใบอนุญาตทำงานสิ้นอายุ และประสงค์จะทำงานต่อต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนจึงจะทำงานได้
- กรณีใบอนุญาตชำรุดหรือสูญหาย ต้องยื่นขอใบแทนใบอนุญาตภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบ
- กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล สัญชาติ ที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว หรือชื่อสถานที่ทำงาน ต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขโดยไม่ชักช้า
- เมื่อเลิกทำงานต้องคืนใบอนุญาตทำงานภายใน 7 วัน นับแต่วันเลิกทำงาน
นายจ้างที่ประสงค์จะจ้างคนต่างด้าวทำงานต้องปฏิบัติดังนี้
- ห้ามรับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือรับคนต่างด้าวเข้าทำงานที่มีลักษณะงาน หรือเงื่อนไขต่างไปจากที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต (ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ) นายจ้างที่รับคนต่างด้าวเข้าทำงานหรือให้ย้ายไปทำงานที่อื่น หรือออกจากงานต้องแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันที่รับเข้าทำงานหรือย้าย หรือออกจากงาน (ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท)
การกำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ
บัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดในอาชีพและวีชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. 2522 | |
(1) | งานกรรมกร |
(2) | งานกสิกรรม งานเลี้ยงสัตว์ งานป่าไม้ หรืองานประมง ยกเว้นงานที่ใช้ความชำนาญ งานเฉพาะสาขา งานควบคุมดูแลฟาร์ม |
(3) | งานก่ออิฐ งานช่างไม้ หรืองานก่อสร้างอื่น |
(4) | งานแกะสลักไม้ |
(5) | งานขับขี่ยานยนต์ หรืองานขับขี่ยานพาหนะที่ไม่ใช้เครื่องจักรหรือเครื่องกล ยกเว้นงานขับขี่เครื่องบินระหว่างประเทศ |
(6) | งานขายของหน้าร้าน |
(7) | งานขายทอดตลาด |
(8) | งานควบคุม ตรวจสอบหรือให้บริการบัญชี ยกเว้น งานตรวจสอบภายในชั่วคราว |
(9) | งานเจียระไน หรือขัดเพชรหรือพลอย |
(10) | งานตัดผม งานดัดผม หรืองานเสริมสวย |
(11) | งานทอผ้าด้วยมือ |
(12) | งานทอเสื่อ หรืองานทำเครื่องใช้ด้วยกก หวาย ปอ ฟาง หรือเยื่อไม้ไผ่ |
(13) | งานทำกระดาษสาด้วยมือ |
(14) | งานทำเครื่องเขิน |
(15) | งานทำเครื่องดนตรีไทย |
(16) | งานทำเครื่องถม |
(17) | งานทำเครื่องทอง เครื่องเงิน หรือเครื่องนาก |
(18) | งานทำเครื่องลงหิน |
(19) | งานทำตุ๊กตาไทย |
(20) | งานทำที่นอนผ้าห่มนวม |
(21) | งานทำบัตร |
(22) | งานทำผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมด้วยมือ |
(23) | งานทำพระพุทธรูป |
(24) | งานทำมีด |
(25) | งานทำร่มด้วยกระดาษหรือผ้า |
(26) | งานทำรองเท้า |
(27) | งานทำหมวก |
(28) | งานนายหน้า หรืองานตัวแทน ยกเว้น งานนายหน้าหรืองานตัวแทนในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ |
(29) | งานในวิชาชีพวิศวกรรม สาขาวิศวกรรมโยธา ที่เกี่ยวกับงานออกแบบและคำนวณ จัดระบบ วิจัย วางโครงการ ทดสอบ ควบคุมการก่อสร้าง หรือให้คำแนะนำ ทั้งนี้ไม่รวมที่ต้องใช้ความชำนาญพิเศษ |
(30) | งานในวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับงานออกแบบเขียนแบบ ประมาณราคา อำนวยการก่อสร้างหรือให้คำแนะนำ |
(31) | งานประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย |
(32) | งานปั้นหรือทำเครื่องปั้นดินเผา |
(33) | งานมวนบุหรี่ด้วยมือ |
(34) | งานมัคคุเทศก์ หรืองานจัดนำเที่ยว |
(35) | งานเร่ขายสินค้า |
(36) | งานเรียงตัวพิมพ์อักษรไทยด้วยมือ |
(37) | งานสาวและบิดเกลียวไหมด้วยมือ |
(38) | งานเสมียนพนักงานหรืองานเลขานุการ |
(39) | งานให้บริการทางกฎหมายหรืออรรถคดี ยกเว้น |
ระยะเวลาการอนุญาต
- คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (NON-IMMIGRANT VISA) จะพิจารณาให้ตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 1 ปี และให้มีอายุเท่าระยะเวลาที่คนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรในขณะออกใบอนุญาใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือตามกฎหมายอื่น (มาตรา 10) จะได้รับอนุญาตตามระยะเวลาซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอนุญาตใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว ตามมาตรา 12 ซึ่งสามารถทำงานได้ 27 อาชีพตามที่รัฐมนตรีกำหนดมีระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี กรณีคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวโดยไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน ให้มีอายุสามสิบวันนับแต่วันออกใบอนุญาต
การต่ออายุใบอนุญาต
- คนต่างด้าวจะต้องยื่นเรื่องขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนที่ใบอนุญาตจะหมดอายุถ้าหากคนต่างด้าวยื่นภายในกำหนดเวลาแล้ว สามารถทำงานไปพลางก่อนได้จนกว่านายทะเบียนจะแจ้งผลการพิจารณาต่อใบอนุญาตหรือไม่อนุญาตการต่ออายุใบอนุญาตจะได้รับการพิจารณาครั้งละไม่เกิน 1 ปี กรณีคนต่างด้าวทำงานเมื่อใบอนุญาตสิ้นอายุแล้ว โดยไม่ได้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุหรือได้ยื่นคำขอแล้วแต่นายทะเบียนมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุ ใบอนุญาต และมิได้อุทธรณ์ หรืออุทธรณ์แล้วแต่รัฐมนตรีมี คำวินิจฉัยไม่อนุญาต มีความผิดจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สถานที่ติดต่อ
- ส่วนกลาง ติดต่อที่ สำนักจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่ 1-10
- ส่วนภูมิภาค ติดต่อที่ สำนักงานจัดหางานจังหวัด
หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน
Post Views:
1,290