ผู้ประกันตนอิสระมาตรา 40
คุณสมบัติผู้สมัคร
- มีสัญชาติไทย
- เป็นชนกลุ่มน้อยซึ่งอพยพเข้ามาอาศัยในประเทศไทย โดยมีมติคณะรัฐมนตรีผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ ที่มีบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย โดยเลขประจำตัวหลักแรกเป็นเลข 6 หรือ เลข 7
- เป็นบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราว เพื่อรอการส่งกลับ ที่มีบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย โดยเลขประจำตัวหลักแรกเป็นเลข 0 ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกรณีที่มีบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยแต่มีเลขประจำตัวหลักแรกและหลักที่สองเป็นเลข 0 (00)
- ผู้สมัครต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และ ไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ (มีผลตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2563 จากเดิมไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์)
- ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39
- ไม่เป็นสมาชิกของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการท้องถิ่น หรือไม่เป็นสมาชิกกองทุนของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีลักษณะอย่างเดียวกับกองทุนบำเหน็จบำนาญของส่วนราชการ รวมทั้งไม่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ภายใต้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร หรือกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการท้องถิ่น
- หากเป็นบุคคลซึ่งเป็นผู้พิการ ให้ระบุลักษณะหรืออาการของผู้พิการโดยละเอียด (ยกเว้น ผู้พิการทางสติปัญญาและผู้พิการที่ไม่อาจรับรู้สิทธิที่พึงจะได้รับจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ไม่สามารถสมัครและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้)
หลักฐานการสมัคร
- บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
- แบบคำขอสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (สปส.1-40) กรณีไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ ให้ใช้การประทับลายนิ้วมือแทนการลงชื่อและให้มีผู้รับรองลายมือชื่อจำนวน 2 คน
ช่องทางการรับสมัคร
- สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/ สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขา ทั่วประเทศ (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)
ทางเว็บไซต์ www.sso.go.th (เลือกเมนู ลงทะเบียนผู้ประกันตนตามมาตรา 40) - เคาน์เตอร์เซอร์วิส (เซเว่นอีเลฟเว่น ทุกสาขาทั่วประเทศ โดยใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียวในการสมัครและไม่เสียค่าธรรมเนียม)
หน่วยบริการเคลื่อนที่ของสำนักงานประกันสังคม - สายด่วนประกันสังคม 1506
- เคาน์เตอร์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
- สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/ สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขา ทั่วประเทศ (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)
ทางเลือก/ชุดสิทธิประโยชน์
ทางเลือกที่คุ้มค่าสำหรับคุณ เพื่อสิทธิประโยชน์ดังกล่าวสำนักงานประกันสังคมขอเสนอทางเลือกที่คุ้มค่าสำหรับคุณด้วย ชุดสิทธิประโยชน์ ดังนี้
- ทางเลือกที่ 1 (จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน)
- สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย
- ทางเลือกที่ 2 (จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน)
- สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ
- ทางเลือกที่ 3 (จ่ายเงินสมทบ 300/เดือน)
- สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 5 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ กรณีสงเคราะห์บุตร
- ทางเลือกที่ 1 (จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน)
จ่ายเงินสมทบได้ที่
- เคาน์เตอร์เซอร์วิส
- เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
- เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
- เคาน์เตอร์ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
- ห้างเทสโก้โลตัส
- ตู้บุญเติม
- ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี (เคาน์เตอร์บิ๊กซี)
- ไปรษณีย์ (ธนาณัติ)
หักผ่านบัญชีธนาคาร
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
- ธนาคารออมสิน
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
Post Views:
1,426