การชำระภาษีรถสามล้อรับจ้าง,รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้างและรถรับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน
หลักเกณฑ์
การชำระภาษีรถประจำปีสามารถให้บุคคลอื่นไปดำเนินการแทนได้โดยไม่ต้องมอบอำนาจ โดยอายุภาษีของรถกับหลักฐานการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.) จะต้องหมดตรงกันในปีถัดไปหรือต้องมีอายุมากกว่าภาษีประจำปีของรถ และการชำระภาษีรถประจำปีสามารถชำระล่วงหน้าได้ 3 เดือน (กรณี พ.ร.บ.ยังไม่ขาดอายุ พ.ร.บ.จะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 90 วัน ถึงจะสามารถนำมาชำระภาษีรถยนต์ได้ แต่ถ้า พ.ร.บ.มีอายุน้อยกว่า 90 วัน จะต้องซื้อพ.ร.บ.ใหม่)
หลักเกณฑ์การนำรถเข้าตรวจสภาพ
- รถที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี ต้องนำรถเข้าตรวจสภาพปีละ 2 ครั้ง
- รถที่มีอายุเกิน 7 ปี แต่ไม่เกิน 9 ปี ต้องนำรถเข้าตรวจสภาพปีละ 3 ครั้ง
- หากรถรับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน (Taxi ) ครบอายุการใช้งานเกิน 9 ปี จะไม่สามารถชำระภาษีรถได้ ต้องนำรถเข้าตรวจสภาพเพื่อ แจ้งเปลี่ยนประเภทเป็นรถยนต์ส่วนบุคคล
- ตรวจสภาพมิเตอร์พร้อมการตรวจสภาพรถ
- รอบตรวจสภาพครั้งแรก ได้แก่ วันครบรอบชำระภาษีประจำปี
- ส่วนรอบต่อๆ ไป ดูได้จากสติ๊กเกอร์ที่ติดหน้ารถ
- เจ้าของรถสามารถดำเนินการตรวจล่วงหน้าก่อนวันที่ดังกล่าวได้ไม่เกิน 1 เดือน
เอกสารหลักฐาน
- สมุดคู่มือจดทะเบียนรถ ( สำเนาสมุดคู่มือจดทะเบียนรถก็ได้ )
- หลักฐานการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.)
- กรมธรรม์ประกันภัยชั้นที่ 1 , 2 หรือ 3
ค่าธรรมเนียมการตรวจสภาพ
- 50 บาท
สถานที่ยื่นชำระภาษีรถประจำปีและตรวจสภาพรถ
- ในเขตกรุงเทพฯ
– ฝ่ายรถรับจ้างและรถบริการ ส่วนทะเบียนรถยนต์ สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ กรมการขนส่งทางบก
– สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครเขตพื้นที่ที่รถนั้นจดทะเบียนอยู่ - ต่างจังหวัดติดต่อได้ที่ สำนักงานขนส่งจังหวัด
ค่าปรับกรณีไม่ทำตามกำหนด
- การไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าว ต้องเปรียบเทียบปรับ 1,000 บาทต่อรอบ ที่ต้องนำรถเข้าตรวจสภาพ แต่ไม่เกิน 3,000 บาท
การชำระภาษีล่าช้า
- เสียร้อยละ 1 ต่อ เดือนจนถึงวันชำระ
อัตราภาษี
- ให้เก็บภาษีตามน้ำหนักรถ ในอัตราดังต่อไปนี้
(ก) | น้ำหนักไม่เกิน 500 กิโลกรัม | คันละ185 บาท |
(ข) | น้ำหนักตั้งแต่ 501-750 กิโลกรัม | คันละ 310 บาท |
(ค) | น้ำหนักตั้งแต่ 751-1,000 กิโลกรัม | คันละ 450บาท |
(ง) | น้ำหนักตั้งแต่ 1,000-1,250 กิโลกรัม | คันละ 560บาท |
(จ) | น้ำหนักตั้งแต่ 1,251-1,500 กิโลกรัม | คันละ 685 บาท |
(ฉ) | น้ำหนักตั้งแต่ 1,501-1,750 กิโลกรัม | คันละ 875บาท |
(ช) | น้ำหนักตั้งแต่ 1,751-2,000 กิโลกรัม | คันละ 1,060 บาท |
(ซ) | น้ำหนักตั้งแต่ 2,001-2,500 กิโลกรัม | คันละ1,250 บาท |
(ฌ) | น้ำหนักตั้งแต่ 2,501-3,000 กิโลกรัม | คันละ1,435 บาท |
(ญ) | น้ำหนักตั้งแต่ 3,001-3,500 กิโลกรัม | คันละ 1,625 บาท |
(ฎ) | น้ำหนักตั้งแต่ 3,501-4,000 กิโลกรัม | คันละ 1,810บาท |
(ฏ) | น้ำหนักตั้งแต่ 4,001-4,500 กิโลกรัม | คันละ 2,000 บาท |
(ฐ) | น้ำหนักตั้งแต่ 4,501-5,000 กิโลกรัม | คันละ2,185 บาท |
(ฑ) | น้ำหนักตั้งแต่ 5,001-6,000 กิโลกรัม | คันละ2,375 บาท |
(ฒ) | น้ำหนักตั้งแต่ 6,001-7,000 กิโลกรัม | คันละ2,560บาท |
(ณ) | น้ำหนักตั้งแต่ 7,001 กิโลกรัม ขึ้นไป | คันละ 2,750บาท |
หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม
ที่มา https://www.dlt.go.th/