การชำระภาษีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คนประจำปี
หลักเกณฑ์
- การชำระภาษีรถประจำปีสามารถให้บุคคลอื่นไปดำเนินการแทนได้โดยไม่ต้องมอบอำนาจ โดยอายุภาษีของรถกับหลักฐานการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.) จะต้องหมดตรงกันในปีถัดไปหรือต้องมีอายุมากกว่าภาษีประจำปีของรถ และการชำระภาษีรถประจำปีสามารถชำระล่วงหน้าได้ 3 เดือน (กรณี พ.ร.บ.ยังไม่ขาดอายุ พ.ร.บ.จะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 90 วัน ถึงจะสามารถนำมาชำระภาษีรถยนต์ได้ แต่ถ้า พ.ร.บ.มีอายุน้อยกว่า 90 วัน จะต้องซื้อพ.ร.บ.ใหม่)
หลักเกณฑ์การนำรถเข้าตรวจสภาพ
- รถยนต์ ที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปี (นำรถเข้าตรวจสภาพที่ ตรอ. เท่านั้น)
- รถยนต์ ที่อายุการใช้งานยังไม่ครบ หรือครบกำหนดตรวจสภาพ กำหนดตรวจสภาพ มีการค้างชำระภาษีเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี (นำรถเข้าตรวจสภาพ ณ สำนักงานขนส่ง หรือ ตรอ.)
- รถยนต์ ที่อายุการใช้งานยังไม่ครบกำหนดตรวจสภาพ มีการค้างชำระภาษี แต่ไม่เกิน 1 ปี ไม่ต้องนำรถไปตรวจสภาพ ทำเรื่องชำระภาษีเพียงอย่างเดียว
- กรณีมีการค้างชำระเกิน 3 ปี ตรวจสภาพที่ สำนักงานขนส่งเท่านั้น (ใช้ข้อมูลหัวข้อการชำระภาษีรถค้างเกิน 3 ปี)
- ยกเว้นกรณีเป็นรถที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดให้ตรวจสภาพกับนายทะเบียน เช่น กรณีการขอโอน พร้อมชำระภาษี เปลี่ยนสี เปลี่ยนเครื่อง พร้อมขอเสียภาษี ให้นำรถเข้าตรวจสภาพกับหน่วยงานของกรมการขนส่งได้เลย
เอกสารหลักฐาน
- สมุดคู่มือจดทะเบียนรถ ( สำเนาสมุดคู่มือจดทะเบียนรถก็ได้ ทั่วประเทศ )
- หลักฐานการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 (เช่น ใบเสร็จรับเงิน หรือ ตารางกรมธรรม์ )
- ใบรับรองการตรวจสภาพรถ ต.ร.อ. สำหรับรถที่กำหนดให้ผ่านการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชนก่อน อายุทะเบียนครบ 7 ปีขึ้นไป
อัตราโทษปรับ
- ชำระภาษีล่าช้า ปรับ ร้อยละ 1 ต่อเดือนจนถึงวันชำระ
อัตราภาษี
ให้เก็บภาษีตามความจุของกระบอกสูบของเครื่องยนต์ ซีซี ในอัตราดังต่อไปนี้
ก | 600 ลูกบาศก์เซนติเมตรซีซีแรก คิดลูกบาศก์เซนติเมตรละ | 0.50 | บาท |
ข | ส่วนที่เกิน 600 ลูกบาศก์เซนติเมตรซีซี แต่ไม่เกิน 1,800 ลูกบาศก์เซนติเมตรซีซี คิดลูกบาศก์เซนติเมตรละ | 1.50 | บาท |
ค | ส่วนที่เกิน 1,800 ลูกบาศก์เซนติเมตรซีซี คิดลูกบาศก์เซนติเมตรละ | 4.00 | บาท |
ตารางอัตราการคิดภาษีรถนั่งไม่เกิน 7 คน
- ส่วนลดภาษีบุคคลธรรมดา
- ส่วนลดภาษีนิติบุคคล
สถานที่ชำระภาษีประจำปี
หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม
ที่มา https://www.dlt.go.th/
Post Views:
804