การให้บริการรักษาพยาบาลที่ไม่สามารถใช้บัตรทอง
การรักษาที่ไม่สามารถใช้สิทธิบัตรทองได้
- การรักษาผู้ป่วยทางจิตที่ต้องรับไว้เป็นผู้ป่วยใน (ผู้ป่วยที่ต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล) เกิน 15 วัน
- การบำบัดรักษาผู้ติดยาหรือสารเสพติด
- อุบัติเหตุจากรถที่บริษัทประกันภัยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
- การรักษาในกรณีมีบุตรยาก เช่น การให้ยาเพิ่มฮอร์โมน
- การผสมเทียม เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว
- การศัลยกรรมเพื่อความงามต่างๆ เช่น การทำตา 2 ชั้น, เสริมหน้าอก เป็นต้น
- การตรวจ รักษาโรคหรืออาการใด ๆ นอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง
- การรักษาตัวในโรงพยาบาลประเภทผู้ป่วยใน (ผู้ป่วยที่ต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล) เกิน 180 วัน ยกเว้น กรณีมีความจำเป็นต้องรักษาต่อเนื่องจากอาการแทรกซ้อน หรือตามแพทย์สั่ง
- การรักษาโรคที่ยังไม่มีวิธีรักษา
- การล้างไตและฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ให้กับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
- การขอรับยาต้านไวรัสเอดส์ ยกเว้น กรณีการกระจายเชื้อจากแม่สู่ลูก
- การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ เช่น การเปลี่ยนหัวใจ การเปลี่ยนไต
ติดต่อสอบถาม
- หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูล ร้องทุกข์ หรือร้องเรียนเกี่ยวกับบัตรทอง สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
– หมายเลขโทรศัพท์ 1330 ตลอด 24 ชั่วโมง เฉพาะโทรศัพท์บ้านคิดอัตราค่าบริการครั้งละ 3 บาททั่วประเทศ
– หรือสอบถามได้โดยตรงที่ สถานีอนามัย และสถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการที่อยู่ใกล้บ้าน - ส่วนของกรุงเทพฯ ติดต่อได้ที่ ศูนย์บริการสาธารณสุขของกรุงเทพฯ และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
- หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูล ร้องทุกข์ หรือร้องเรียนเกี่ยวกับบัตรทอง สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข
Post Views:
608