การจดทะเบียนคนพิการ
เอกสาร/หลักฐาน
- เอกสารรับรองความพิการ ซึ่งประเมินความพิการโดยแพทย์ของสถานพยาบาลของทางราชการและสถานพยาบาลเอกชนที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศ
- บัตรประจำตัวประชาชนของคนพิการหรือสูติบัตร (กรณีผู้เยาว์) พร้อมสำเนา 1 ชุด
- ทะเบียนบ้านฉบับจริงพร้อมสำเนา 1 ชุด
- รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป (กรณีคนพิการไม่ได้ดำเนินการด้วยตนเอง)
กรณีมอบอำนาจ (จดทะเบียนคนพิการแทน) เพิ่มเติมเอกสาร/หลักฐาน
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจพร้อมสำเนา 1 ชุด (กรณีคนพิการไม่ได้ดำเนินการด้วยตนเอง)
- ทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจพร้อมสำเนา 1 ชุด (กรณีคนพิการไม่ได้ดำเนินการด้วยตนเอง)
- หนังสือมอบอำนาจหรือหนังสือรับรองการเป็นผู้ดูแลคนพิการ (หนังสือรับรองราชการ จะใช้ในกรณีที่ ผู้ดูแล มีชื่อคนละทะเบียนบ้านกับคนพิการ โดยจะต้องให้ข้าราชการระดับซี 3 ขึ้นไปรับรอง)
- คำสั่งศาลในกรณีที่ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถหรือไร้ความสามารถ หรือการจัดตั้งผู้ปกครองกรณีผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดา หรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง
การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพคนพิการ
- เงินเบี้ยยังชีพคนพิการ 800 บาทต่อเดือน
อายุบัตรประจำตัวคนพิการ
- บัตรประจำตัวคนพิการมีอายุ 8 ปี นับแต่วันที่ออกบัตร
ค่าธรรมเนียม
- ไม่เสียค่าธรรมเนียม
สถานที่ยื่นคำขอ **สามารถยื่นเรื่องต่างพื้นที่ได้
- กรุงเทพมหานคร
- กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
- ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร
- โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์
- หมายเลขติดต่อ 034-225830
- ประชาชนสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ส่วนกลางได้ที่ 096-9343026
- ที่อยู่ : เลขที่ 52 หมู่ 2 ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 73210
- โรงพยาบาลสิรินธร
- หมายเลขติดต่อ 02-3286901 ต่อ 10147
- ที่อยู่ :เลขที่ 20 ซอยอ่อนนุช 90 แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร 10250
- ประชาชนสามารถเข้าไปใช้บริการได้ที่ ชั้น 1 ห้องศัลยกรรม ห้อง 16
- โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
- หมายเลขติดต่อ 02-4050901 ต่อ 120
- ที่อยู่ : เลขที่ 1075/1 ถนนบางขุนเทียน – ชายทะเล แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร10150
- ประชาชนสามารถเข้าไปใช้บริการได้ด้านหน้าตึก มีอาคารเดียว
- โรงพยาบาลพระราม 2
- หมายเลขติดต่อ 02-4514920 ต่อ 1126
- ที่อยู่ : เลขที่ 280 ถนนพระราม 2 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 10150
- กรณีที่ประชาชนทำบัตรครั้งแรก ให้ติดต่อทำบัตรได้ที่ โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
- กรณีประชาชนเคยมีบัตรแล้ว ให้ติดต่อ เวชระเบียน ชั้น G อยู่ใกล้ห้องฉุกเฉิน
- สถาบันราชานุกูลกรมสุขภาพจิต
- หมายเลขติดต่อ 02-2488900 ต่อ 70533
- ที่อยู่ : เลขที่ 4737 ถนนดินแดง แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
- ประชาชนสามารถขอใช้บริการได้ที่ ชั้น 1 ห้องออกบัตร
- โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
- หมายเลขติดต่อ 02-5174270 ต่อ 1203
- ที่อยู่ : เลขที่ 679 ถนนรามอินทรา แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร 10230
- ประชาชนสามารถติดต่อขอใช้บริการได้ที่ ตึกอำนวยการ ชั้น 2 ห้องเบอร์ 14
- โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์
- หมายเลขติดต่อ 02-5431307, 02-5431793, 02-9884100
- ที่อยู่ : เลขที่ 48 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงกระทุ่มราย เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
- กรณีที่ประชาชนทำบัตรครั้งแรก ให้ติดต่อ แผนกกายภาพบำบัด ชั้น 2
- กรณีประชาชนเคยมีบัตรแล้ว ให้ติดต่อ เวชระเบียน ชั้น 1
- สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
- หมายเลขติดต่อ 1415 ต่อ 3333
- ที่อยู่ : เลขที่ 420/8 ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร10400
- ประชาชาสามารถติดต่อขอใช้บริการได้ที่ ห้องศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ชั้น 3 ตึกมหิตลาธิเบศร
- ต่างจังหวัด
- สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (ตั้งอยู่ที่ศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัดทุกจังหวัด)
กรณีสมุดประจำตัวคนพิการชำรุด / สูญหาย
หากสมุดประจำตัวคนพิการชำรุดก่อนวันหมดอายุ คนพิการสามารถยื่นคำร้องขอมีสมุดประจำตัวคนพิการเล่มใหม่แทนเล่มเดิมได้หากสมุดประจำตัวคนพิการสูญหาย ให้แจ้งความที่สถานีตำรวจและนำใบแจ้งความยื่นขอมีสมุดประจำตัวคนพิการเล่มใหม่พร้อมเอกสารหลักฐาน
เอกสาร/หลักฐาน
- ใบแจ้งความจากสถานีตำรวจ (เฉพาะกรณี สูญหาย)
- บัตรประจำตัวประชาชนของคนพิการหรือสูติบัตร (กรณีผู้เยาว์) พร้อมสำเนา 1 ชุด
- ทะเบียนบ้านฉบับจริงพร้อมสำเนา 1 ชุด
- รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป (กรณีคนพิการไม่ได้ดำเนินการด้วยตนเอง)
กรณี มอบอำนาจ ทำได้ 2 วิธี
- มอบอำนาจให้ผู้ดูแล ดำเนินการแทน เพิ่มเติม เอกสาร/หลักฐาน
– บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ดูแล พร้อมสำเนา 1 ชุด
– ทะเบียนบ้านของผู้ดูแล พร้อมสำเนา 1 ชุด - มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการ เพิ่มเติม เอกสาร/หลักฐาน
– บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจพร้อมสำเนา 1 ชุด
– ทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจพร้อมสำเนา 1 ชุด
– หนังสือมอบอำนาจหรือหนังสือรับรองการเป็นผู้ดูแลคนพิการ (หนังสือรับรองราชการ จะใช้ในกรณีที่ ผู้ดูแล มีชื่อคนละทะเบียนบ้านกับคนพิการ โดยจะต้องให้ข้าราชการระดับซี 3 ขึ้นไปรับรอง)
ค่าธรรมเนียม
- ไม่เสียค่าธรรมเนียม
กรณีการต่ออายุสมุดประจำตัวคนพิการ
หากบัตรหรือสมุดประจำตัวคนพิการหมดอายุ คนพิการสามารถยื่นคำร้องขอมีบัตรใหม่ได้ ภายใน 30 วัน ก่อนที่บัตรจะหมดอายุ
เอกสาร/หลักฐาน
- สมุดประจำตัวคนพิการเล่มเดิมที่หมดอายุ
- บัตรประจำตัวประชาชนของคนพิการหรือสูติบัตร (กรณีผู้เยาว์) พร้อมสำเนา 1 ชุด
- ทะเบียนบ้านฉบับจริงพร้อมสำเนา 1 ชุด
- รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป (กรณีคนพิการไม่ได้ดำเนินการด้วยตนเอง)
กรณี มอบอำนาจ ทำได้ 2 วิธี
- มอบอำนาจให้ผู้ดูแล ดำเนินการแทน เพิ่มเติม เอกสาร/หลักฐาน
– บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ดูแล พร้อมสำเนา 1 ชุด
– ทะเบียนบ้านของผู้ดูแล พร้อมสำเนา 1 ชุด - มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการ เพิ่มเติม เอกสาร/หลักฐาน
– บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจพร้อมสำเนา 1 ชุด
– ทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจพร้อมสำเนา 1 ชุด
– หนังสือมอบอำนาจหรือหนังสือรับรองการเป็นผู้ดูแลคนพิการ (หนังสือรับรองราชการ จะใช้ในกรณีที่ ผู้ดูแล มีชื่อคนละทะเบียนบ้านกับคนพิการ โดยจะต้องให้ข้าราชการระดับซี 3 ขึ้นไปรับรอง)
ค่าธรรมเนียม
- ไม่เสียค่าธรรมเนียม
การเปลี่ยนสมุดประจำตัวคนพิการ กรณีเปลี่ยนชื่อตัว / ชื่อสกุล
กรณีที่คนพิการไปทำการเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล จะต้องมีการแจ้งเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล ในสมุดประจำตัวคนพิการด้วย เวลาที่ไปติดต่อขอรับบริการชื่อในบัตรประจำตัวประชาชน และในสมุดประจำตัวคนพิการจะได้ตรงกัน
เอกสาร/หลักฐาน
- บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงพร้อมสำเนา
- ทะเบียนบ้านพร้อมสำเนา
- สมุดประจำตัวคนพิการพร้อมสำเนา
- รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป (กรณีคนพิการไม่ได้ดำเนินการด้วยตนเอง)
กรณี มอบอำนาจ ทำได้ 2 วิธี
- มอบอำนาจให้ผู้ดูแล ดำเนินการแทน เพิ่มเติม เอกสาร/หลักฐาน
– บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ดูแล พร้อมสำเนา 1 ชุด
– ทะเบียนบ้านของผู้ดูแล พร้อมสำเนา 1 ชุด - มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการ เพิ่มเติม เอกสาร/หลักฐาน
– บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจพร้อมสำเนา 1 ชุด
– ทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจพร้อมสำเนา 1 ชุด
– หนังสือมอบอำนาจหรือหนังสือรับรองการเป็นผู้ดูแลคนพิการ (หนังสือรับรองราชการ จะใช้ในกรณีที่ ผู้ดูแล มีชื่อคนละทะเบียนบ้านกับคนพิการ โดยจะต้องให้ข้าราชการระดับซี 3 ขึ้นไปรับรอง)
ค่าธรรมเนียม
- ไม่เสียค่าธรรมเนียม
การเปลี่ยนผู้ดูแลคนพิการในบัตรประจำตัวคนพิการ
เอกสาร/หลักฐาน กรณีคนพิการดำเนินการด้วยตนเอง
- บัตรประจำตัวคนพิการเดิม
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนคนพิการ และผู้ดูแลคนใหม่
- สำเนาทะเบียนบ้านของคนพิการ และผู้ดูแลคนใหม่
- หนังสือรับรองการเป็นผู้ดูแลคนพิการ (หนังสือรับรองราชการ จะใช้ในกรณีที่ ผู้ดูแล มีชื่อคนละทะเบียนบ้านกับคนพิการ โดยจะต้องให้ข้าราชการระดับซี 3 ขึ้นไปรับรอง)
เอกสาร/หลักฐาน เพิ่มเติม
กรณีคนพิการไม่ได้ดำเนินการด้วยตนเอง โดยสามารถมอบอำนาจได้ 3 กรณี ดังนี้
- มอบอำนาจให้ผู้ดูแลคนเดิม ดำเนินการแทน
– หนังสือมอบอำนาจจากคนพิการ
– รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป
– บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ดูแลที่ไปดำเนินการ พร้อมสำเนา 1 ชุด
– ทะเบียนบ้านของผู้ดูแลที่ไปดำเนินการ พร้อมสำเนา 1 ชุด - มอบอำนาจให้ผู้ดูแลคนใหม่ ดำเนินการแทน
– หนังสือมอบอำนาจจากคนพิการ
– หนังสือมอบอำนาจจากผู้ดูแลคนเดิม
– รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป
– บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ดูแลที่ไปดำเนินการ พร้อมสำเนา 1 ชุด
– ทะเบียนบ้านของผู้ดูแลที่ไปดำเนินการ พร้อมสำเนา 1 ชุด - มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน
– หนังสือมอบอำนาจจากคนพิการ
– หนังสือมอบอำนาจจากผู้ดูแลคนเดิม
– รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป
– บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจพร้อมสำเนา 1 ชุด
– ทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจพร้อมสำเนา 1 ชุด
ค่าธรรมเนียม
- ไม่เสียค่าธรรมเนียม
ข้อขัดข้องต่างๆ ในการจดทะเบียนคนพิการ
คนพิการและญาติของผู้พิการบางคน เมื่อเดินทางมาขอจดทะเบียนคนพิการที่ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวสำหรับคนพิการ แต่ศูนย์บริการฯ ไม่สามารถจะดำเนินการจดทะเบียนคนพิการให้ได้ เนื่องจากมีข้อขัดข้องต่าง ๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
- ไม่ได้นำเอกสารรับรองความพิการ มาใช้ในการจดทะเบียนคนพิการ เมื่อมาจดทะเบียนคนพิการ
- คนพิการโดยทั่วไปหรือญาติไม่ได้นำเอกสารสำคัญที่ใช้ในการจดทะเบียนคนพิการ คือ เอกสารรับรองความพิการที่ออกโดยแพทย์ของโรงพยาบาลของรัฐ มาใช้ในการจดทะเบียนคนพิการ ส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นใบรับรองแพทย์ของคนไข้ทั่วไป ซึ่งใบรับรองแพทย์นั้นจะไม่มีข้อมูลสำคัญระบุประเภทความพิการ ระดับความพิการ ระดับความสามารถ รวมถึงลักษณะของความพิการที่แพทย์ประเมินไว้อย่างครบถ้วน ทำให้การออกสมุดประจำตัวคนพิการไม่สามารถระบุรายละเอียดที่ชัดเจนถูกต้องลงในสมุดได้ อีกทั้งข้อมูลสำคัญที่ต้องจัดเก็บในฐานข้อมูลกลางก็จะมีความไม่สมบูรณ์ตามไปด้วย
- เอกสารรับรองความพิการที่แพทย์ออกให้ มีความไม่สมบูรณ์
- กรณีที่คนพิการหรือญาติได้นำเอกสารรับรองความพิการมาติดต่อขอทำสมุดประจำตัวคพนิการและเจ้าหน้าที่ แจ้งว่า คนพิการจดทะเบียนไม่ได้ เนื่องจากเอกสารรับรองความพิการที่แพทย์ออกให้ ไม่สมบูรณ์นั้น ในกรณีนี้อาจ เป็นได้ 2 กรณี คือ
- แพทย์ไม่ได้ระบุระดับความผิดปกติของความพิการในเอกสารรับรองความพิการ
- แพทย์ระบุระดับความผิดปกติของความพิการ แต่ระดับความผิดปกติดังกล่าว ไม่อยู่ในเกณฑ์ของการประเมินตามพระราชบัญญัติฯ ซึ่งมีผลให้ไม่เป็นคนพิการตามกฎหมาย จึงจดทะเบียนไม่ได้
ที่มา
Last Update By Admin Z 2020-08-21 16:53:18