การนำเข้าและการขึ้นทะเบียนฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งขาว
ขั้นตอนที่ 1 การขอขึ้นทะเบียนฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งขาว
ยื่นคำขอตามแบบ กข1 ที่ให้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ที่สถาบันศูนย์หรือสถานีในสังกัด สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ในท้องที่หรือท้องที่ใกล้เคียงที่ฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งขาวตั้งอยู่ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล กรมประมง เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โดยแนบหลักฐานดังต่อไปนี้ คือ
- เอกสารรับรองการเป็นฟาร์มมาตรฐาน CoC
- กรณีเป็นบุคคลธรรมดา
- บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ
- ทะเบียนบ้าน
- กรณีเป็นนิติบุคคล
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หรือห้างหุ้นส่วน ซึ่งมีอายุไม่เกิน 90 วัน นับแต่วันที่ออกหนังสือรับรอง
- บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ และทะเบียนบ้านของหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท
- กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นมายื่นแทน ให้แนบหลักฐานต่อไปนี้
- หนังสือมอบอำนาจ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
- บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ และทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ
- แผนการดำเนินงานโครงการปรับปรุงสายพันธุ์กุ้งขาว
- กรณีที่ผู้ยื่นคำขอมีความประสงค์จะจำหน่ายลูกกุ้งขาวในระยะ Nauplius จากฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งขาวให้แก่ฟาร์มเพาะพันธุ์อื่น ให้แนบบัญชีรายชื่อของฟาร์มเพาะพันธุ์ที่จะรับซื้อลูกกุ้งนั้นด้วย โดยฟาร์มเพาะพันธุ์ดังกล่าวนั้นจะต้องได้มาตรฐาน CoC และได้รับการตรวจสอบความเหมาะสมจากกรมประมงแล้ว
- แผนผังของฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งขาวที่จะขอขึ้นทะเบียน
ขั้นตอนที่ 2 การขออนุญาตนำกุ้งขาวเข้ามาในราชอาณาจักร
- ยื่นคำขออนุญาตตามระเบียบกรมประมง ว่าด้วยการยื่นคำขออนุญาตให้นำสัตว์น้ำบางชนิดเข้ามาในราชอาณาจักร ณ ส่วนอนุญาตและจัดการประมง สำนักบริหารจัดการด้านการประมง โดยแนบหลักฐาน
เอกสารดังต่อไปนี้
- สำเนาหนังสือแสดงการขึ้นทะเบียนฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งขาว (ตามแบบ กข 3) และบัญชีรายละเอียดการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์กุ้งขาวเพื่อเพาะพันธุ์และปรับปรุงสายพันธุ์ (ตามแบบ กข 3-1)
- ในกรณีที่เคยนำเข้ากุ้งขาวตามระเบียบนี้มาแล้ว ให้แนบสำเนาบันทึกข้อมูลที่มีรายละเอียดการปฏิบัติงาน จำนวนและที่มาของกุ้งขาว และสุขภาพของกุ้งขาว รวมทั้งลักษณะอาการป่วยและจำนวนที่ตายของกุ้งขาว
ในกรณีที่ต้องการยกเว้นภาษี ส่วนอนุญาตและจัดการประมง จะติดต่อขอรับใบรับรองโรงเพาะฟักเพื่อการทำพันธุ์ จาก สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง (สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล เป็นผู้ดำเนินการ)
ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตอนการนำเข้ากุ้งขาว
- ให้ผู้รับหนังสืออนุญาตนำเข้ากุ้งขาวแจ้งนำเข้าก่อนวันนำเข้า
- วันทำการ ตามแบบฟอร์ม กข-4 โดยให้แจ้งที่หน่วยงานดังนี้คือ
1.1 สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลเพื่อดำเนินการกักกัน ตามรายละเอียดในข้อ 3
1.2 ด่านศุลกากรที่จะนำเข้า
1.2.1 ด่านศุลกากรท่าอากาศยานกรุงเทพ ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำด่านตรวจสัตว์น้ำท่าอากาศยานกรุงเทพฯ และ แจ้งสถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำจืด กรมประมง เกษตรกลาง เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เพื่อนำส่งตัวอย่างต่อไป
1.2.2 ด่านศุลกากรท่าอากาศยานหาดใหญ่ ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำด่านตรวจสัตว์น้ำท่าอากาศยานหาดใหญ่ และ แจ้งสถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำชายฝั่ง จังหวัดสงขลา เพื่อนำส่งตัวอย่างต่อไป
1.2.3 ด่านศุลกากรท่าอากาศยานภูเก็ต ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำด่านตรวจสัตว์น้ำท่าอากาศยานภูเก็ต และ แจ้งศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต เพื่อนำส่งตัวอย่างต่อไป
- วันทำการ ตามแบบฟอร์ม กข-4 โดยให้แจ้งที่หน่วยงานดังนี้คือ
- หลักเกณฑ์การนำกุ้งเข้า โดยทำการขออนุญาตที่ด่านตรวจสัตว์น้ำตาม พรบ.โรคระบาดสัตว์
2.1 มีใบอนุญาตนำเข้าตามพรบ. ประมง (ข้อ 2(1))
2.2 Health Certificate (SPF 4 โรค)
2.3 ใบยกเว้นภาษี (ถ้ามี)
2.4 หนังสือแสดงการขึ้นทะเบียนฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งขาวเพื่อขอนำเข้ามาเพาะพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์ (กข3) - พนักงานเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบหลักฐาน และสุ่มเก็บตัวอย่างกุ้งขาวที่นำเข้า จากนั้นให้ผู้นำเข้านำกุ้งขาวที่เหลือจากการสุ่มตัวอย่างไปกักไว้ในเขตกักกัน ที่กำหนดไว้ โดยให้ถือระยะเวลา 15 วันนับแต่วันนำเข้าเป็นระยะเวลาในการกักกันโรค ห้ามมิให้ทำการเคลื่อนย้ายกุ้งขาวมีชีวิตนั้นออกจากบริเวณที่กำหนดไว้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาต (กรมประมงจะทำการตรวจสอบอาการของกุ้งที่อยู่ในเขตกักกัน โดยถือว่ากุ้งที่อยู่ในเขตกักกันยังอยู่ในระหว่างขั้นตอนของการนำเข้า ฉะนั้นหากกรมประมงทำการตรวจสอบ พบว่ากุ้งที่กักกันมีการตายผิดปกติ หรือมีอาการผิดปกติ กรมประมงจะพิจารณาดำเนินการตามที่เห็นสมควรต่อไป)
- ให้ผู้รับหนังสืออนุญาตนำเข้ากุ้งขาวแจ้งนำเข้าก่อนวันนำเข้า
ขั้นตอนที่ 4 การจำหน่ายลูกกุ้งขาว
- ผู้ขึ้นทะเบียนฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งขาวสามารถจำหน่ายกุ้งขาวได้เฉพาะลูกกุ้งในระยะ Post larva เท่านั้น โดยต้องเก็บลูกกุ้งไว้สำหรับการปรับปรุงพันธุ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนลูกกุ้งที่ผลิตได้ในแต่ละครั้ง และจำหน่ายลูกกุ้งระยะ Nuaplius ได้เฉพาะฟาร์มเพาะพันธุ์ที่ได้มาตรฐาน CoC ที่ได้แจ้งบัญชีรายชื่อไว้แล้ว หรือ ที่จะได้แจ้งเพิ่มเติมแก่กรมประมงภายหลังจากนั้น
- ในการจำหน่ายลูกกุ้งขาว ให้ปฏิบัติตามระเบียบกรมประมงว่าด้วยการจัดทำหนังสือกำกับการจำหน่ายสัตว์น้ำ พ.ศ.2546 โดยให้แนบสำเนาหนังสือรับรองการปลอดเชื้อ SPF (Specific Pathogenic Free) ที่ได้มา ในการขอหนังสือกำกับการจำหน่ายลูกพันธุ์สัตว์น้ำสำหรับลูกกุ้งขาวด้วย
หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Post Views:
1,045