การควบคุมสิทธิ
โอนสิทธิให้ทายาท
การโอนสิทธิการเข้าทำประโยชน์ให้ทายาทเกษตรกรผู้ได้รับ ส.ป.ก.4-01 ไม่ประสงค์จะทำประโยชน์ในที่ดินต่อไปและต้องการโอนสิทธิให้แก่ทายาท ทำได้ดังนี้
ยื่นคำขอ | ยื่นคำขอที่ ส.ป.ก. จังหวัด พร้อมบัญชีเครือญาติบัตรประชาชนทะเบียนบ้าน สูติบัตร ทะเบียนสมรส ฯลฯ |
ผู้รับโอน | คู่สมรสบุตร (ยกเว้นบุตรบุญธรรม)บิดา มารดา ของเกษตรกรพี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกันพี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน หลานของเกษตรกร คู่สมรสที่หย่าขาด ซึ่งเป็นเกษตรกรและไม่มีที่ดินทำกิน |
ผู้มีอำนาจพิจารณา | ปฏิรูปที่ดินจังหวัด กรณีโอนให้แก่คู่สมรสและบุตรเพียงคนเดียว คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดกรณีทายาทนอกเหนือจากคู่สมรสและบุตร กรณีแบ่งโอนแก่บุตร และกรณีโอนให้แก่คู่สมรสที่หย่าขาด |
การแจ้งผล | แจ้งผลเป็นหนังสือและให้สิทธิอุทธรณ์คัดค้าน |
การอุทธรณ์ | ยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่รับแจ้งที่ ส.ป.ก จังหวัด |
การยื่นฟ้องศาลปกครอง | ยื่นหนังสือต่อศาลปกครองภายใน 90 วัน นับแต่วันได้รับแจ้ง ผลอุทธรณ์ |
หลักเกณฑ์
1. การที่จะโอนสิทธิได้จะต้องมีเหตุผลและความจำเป็น เช่น
– ผู้ได้รับ ส.ป.ก. 4-01 ชราภาพ หรือมีอายุ 60 ปีขึ้นไป
– เจ็บป่วย หรือกายพิการจนไม่สามารถประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้
– ผู้ได้รับ ส.ป.ก.ไปประกอบอาชีพอื่น
2. ผู้ที่จะรับโอนสิทธิต้องเป็นเกษตรกร
3. ผู้ที่จะรับโอนสิทธิ
– บุตร (ต้องไม่ใช่บุตรบุญธรรม)
– บิดา – มารดา ของเกษตรกร
– พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
– พี่น้องร่วมบิดา หรือ ร่วมมารดาเดียวกัน
– หลานเกษตรกร (บุตรของบุตร, บุตรของพี่หรือน้องเกษตรกร)
เอกสารหลักฐาน
- ผู้โอน
– บัตรประจำตัวประชาชน ทั้งของตนเองและคู่สมรส
– ทะเบียนบ้าน ทั้งของตนเองและคู่สมรส
– สำเนาทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
– ใบมรณบัตร กรณีคู่สมรสของผู้โอนเสียชีวิต
– เอกสาร ส.ป.ก. 4-01 - ผู้รับโอน
– บัตรประจำตัวประชาชน ทั้งของตนเองและคู่สมรส
– ทะเบียนบ้าน ทั้งของตนเองและคู่สมรส
– สำเนาทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
– สูติบัตร
อัตราค่าธรรมเนียม
- ไม่เสียค่าธรรมเนียมในการโอน
โอนสิทธิตามสัญญาเช่า /เช่าซื้อ
ผู้เช่าหรือเช่าซื้อที่ดินขอ ส.ป.ก. ไม่ประสงค์จะทำประโยชน์ในที่ดินต่อไป และต้องการโอนสิทธิให้แก่ทายาท ทำได้ดังนี้
ยื่นคำขอ | ยื่นคำขอที่ ส.ป.ก.จังหวัดพร้อมบัญชีเครือญาติ บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน สูติบัตร ทะเบียนสมรส ฯลฯ |
ผู้รับโอน | คู่สมรสบุตร (รวมถึงบุตรบุญธรรม) บิดา มารดาของเกษตรกร พี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน หลานของเกษตรกรเพียงรายเดียว ยกเว้นที่ดินแบ่งได้และต้องรับโอนทั้งที่ทำการเกษตรและที่อยู่อาศัย |
อำนาจพิจารณา | คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด |
การแจ้งผล | แจ้งเป็นหนังสือ และแจ้งสิทธิอุทธรณ์ |
การอุทธรณ์ | ภายใน 15 วัน นับแต่ได้รับแจ้ง (ตาม พรบ.วิปกครอง พ.ศ.2539) ที่ ส.ป.ก จังหวัด |
การยืนฟ้องศาลปกครอง | ยื่นเป็นหนังสือต่อศาลปกครองภายใน 90 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งผลอุทธรณ์ |
หลักเกณฑ์
1. การที่จะโอนสิทธิได้จะต้องมีเหตุผลและความจำเป็น เช่น
– ผู้ได้รับ ส.ป.ก. 4-01 ชราภาพ หรือมีอายุ 60 ปีขึ้นไป
– เจ็บป่วย หรือกายพิการจนไม่สามารถประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้
– ผู้ได้รับ ส.ป.ก.ไปประกอบอาชีพอื่น
2. ผู้ที่จะรับโอนสิทธิต้องเป็นเกษตรกร
3. ผู้ที่จะรับโอนสิทธิ
– บุตร (รวมบุตรบุญธรรม)
– บิดา – มารดา ของเกษตรกร
– พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
– พี่น้องร่วมบิดา หรือ ร่วมมารดาเดียวกัน
– หลานเกษตรกร (บุตรของบุตร,บุตรของพี่หรือน้องเกษตรกร)
เอกสารหลักฐาน
- ผู้โอน
– บัตรประจำตัวประชาชน ทั้งของตนเองและคู่สมรส
– ทะเบียนบ้าน ทั้งของตนเองและคู่สมรส
– สำเนาทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
– ใบมรณบัตร กรณีคู่สมรสของผู้โอนเสียชีวิต
– สัญญาเช่า, เช่าซื้อ - ผู้รับโอน
– บัตรประจำตัวประชาชน ทั้งของตนเองและคู่สมรส
– ทะเบียนบ้าน ทั้งของตนเองและคู่สมรส
– สำเนาทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
– สูติบัตร
อัตราค่าธรรมเนียม
- ชำระค่าโอนร้อยละ 1 ของราคาประเมินของกรมที่ดิน
ตกทอดทางมรดกสิทธิการเข้าทำประโยชน์
ผู้ได้รับ ส.ป.ก.4-01 ถึงแก่ความตายทายาทของเกษตรกรผู้ได้รับ ส.ป.ก.4-01 สามารถยื่นคำขอเข้ารับมรดกสิทธิการเข้าทำประโยชน์ได้ดังนี้
ยื่นคำขอ | ยื่นคำขอที่ ส.ป.ก.จังหวัดพร้อมบัญชีเครือญาติ บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน สูติบัตร ทะเบียนสมรส ใบมรณะบัตร ฯลฯ |
ผู้รับมรดก | คู่สมรส บุตร(ยกเว้นบุตรบุญธรรม) บิดา มารดาของเกษตรกร พี่น้องร่วมบิดา มารดา เดียวกัน พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกันซึ่งเป็นเกษตรและไม่มีที่ดินทำกิน |
อำนาจการพิจารณา | ปฏิรูปที่ดินจังหวัด กรณีคู่สมรสหรือบุตรเพียงคนเดียวขอรับคณะกรรมการปฏิบัติรูปที่ดินจังหวัดกรณีนอกเหนือจากคู่สมรสและบุตร |
การแจ้งผล | แจ้งผลเป็นหนังสือและให้สิทธิอุทธรณ์คัดค้าน |
การอุทธรณ์ | ยื่นอุธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่รับแจ้งที่ ส.ป.ก.จังหวัด |
การยื่นฟ้องศาลปกครอง | ยื่นหนังสือต่อศาลปกครองภายใน 90 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งอุทธรณ์ |
หลักเกณฑ์
1.ให้สิทธิการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินตกแก่ทายาท ซึ่งเป็นสามี หรือภรรยา กรณีไม่มีหรือไม่ขอรับให้ ตกแก่ทายาทโดยธรรมเฉพาะบุตรที่เป็นเกษตรกร และบรรลุนิติภาวะ
2. กรณีทายาทเป็นบุตร บุตรทุกคนต้องมาเซ็นชื่อ ยินยอม
เอกสารหลักฐาน
-
เจ้ามรดก
– บัตรประจำตัวประชาชน หรือทะเบียนบ้าน
– ใบมรณบัตรของเจ้ามรดก
– เอกสาร ส.ป.ก. 4-01 -
ผู้รับมรดก
– บัตรประจำตัวประชาชน ทั้งของตนเองและคู่สมรส
– ทะเบียนบ้าน ทั้งของตนเองและคู่สมรส
– สำเนาทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
– สูติบัตร -
ทายาทคนอื่น ๆ
– บัตรประจำตัวประชาชน
– ทะเบียนบ้าน
– สำเนาทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
– หมายเหตุ : กรณีทายาทเป็นบุตร บุตรทุกคนต้องมาเซ็นชื่อ ยินยอม
อัตราค่าธรรมเนียม
-
ไม่เสียค่าธรรมเนียมในการโอน
รับมรดกสิทธิตามสัญญาเช่า/เช่าซื้อ
การรับมรดกสิทธิตามสัญญาเช่า/เช่าซื้อ ผู้เช่าหรือเช่าซื้อที่ดินของ ส.ป.ก.ถึงแก่ความตามทายาทสามารถยื่นคำขอรับมรดกสิทธิได้ดังนี้
ยื่นคำขอ | ยื่นคำขอที่ ส.ป.ก.จังหวัดพร้อมบัญชีเครือญาติ บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน สูติบัตร ทะเบียนสมรส ใบมรณะบัตร ฯลฯ |
ผู้รับมรดก | คู่สมรส บุตร(ยกเว้นบุตรบุญธรรม) บิดา มารดาของเกษตรกร พี่น้องร่วมบิดา มารดา เดียวกัน พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกันซึ่งเป็นเกษตรและไม่มีที่ดินทำกิน |
อำนาจการพิจารณา | คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด |
การแจ้งผล | แจ้งเป็นหนังสือและแจ้งสิทธิอุทธรณ์ |
การอุทธรณ์ | ภายใน 15 วัน นับแต่ได้รับแจ้ง (ตาม พรบ.วิปกครอง พ.ศ.2539) ที่ ส.ป.ก.จังหวัด |
การยื่นฟ้องศาลปกครอง | ยื่นหนังสือต่อศาลปกครองภายใน 90 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งผลอุทธรณ์ |
หลักเกณฑ์
-
ให้สิทธิการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินตกแก่ทายาท ซึ่งเป็นสามี หรือภรรยา กรณีไม่มีหรือไม่ขอรับให้ ตกแก่ทายาทโดยธรรมเฉพาะบุตรที่เป็นเกษตรกร และบรรลุนิติภาวะ
-
กรณีทายาทเป็นบุตร บุตรทุกคนต้องมาเซ็นชื่อ ยินยอม
เอกสารหลักฐาน
-
เจ้ามรดก
– บัตรประจำตัวประชาชน หรือทะเบียนบ้าน
– ใบมรณบัตรของเจ้ามรดก
– สัญญาเช่า, เช่าซื้อ
-
ผู้รับมรดก
– บัตรประจำตัวประชาชน ทั้งของตนเองและคู่สมรส
– ทะเบียนบ้าน ทั้งของตนเองและคู่สมรส
– สำเนาทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
– สูติบัตร
-
ทายาทคนอื่น ๆ
– บัตรประจำตัวประชาชน
– ทะเบียนบ้าน
– สำเนาทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
– หมายเหตุ : กรณีทายาทเป็นบุตร บุตรทุกคนต้องมาเซ็นชื่อ ยินยอม
อัตราค่าธรรมเนียม
-
ชำระค่าโอนร้อยละ 1 ของราคาประเมินของกรมที่ดิน
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ที่มา https://www.alro.go.th/alro_th/main.php?filename=index