การขอรับใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ
คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต
- ได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคลชั่วคราว แล้วแต่กรณีที่ได้รับมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
- มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 46 และ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปีบริบูรณ์
- ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษ หรือถูกเจ้าพนักงานเปรียบเทียบปรับตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป สำหรับความผิดเกี่ยวกับการขับรถอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้เว้นแต่จะพ้นโทษครั้งสุดท้ายไม่น้อยกว่าหกเดือนแล้ว
- ฝ่าฝืนสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจร
- ในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น
- ในลักษณะกีดขวางการจราจร
- ใช้ความเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
- โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
- โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น
4. มีสัญชาติไทย
5. รู้จักถนนและทางหลวงในจังหวัดที่ขอรับใบอนุญาตพอสมควร
6. ไม่เป็นผู้มีโรคติดต่อน่ารังเกียจตามที่กำหนดในกฎหมายกระทรวง
7. ไม่เป็นผู้ติดสุรายาเมาหรือยาเสพติดให้โทษ
8. ไม่เคยเป็นผู้ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดตามพระ ราชบัญญัติรถยนต์ หรือความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน ความผิดเกี่ยวกับเงินตรา ความผิดเกี่ยวกับเพศ ความผิดต่อชีวิต ความผิดต่อร่างกาย ความผิดต่อเสรีภาพ ความผิดฐานยักยอก ความผิดฐานรับของโจร และความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา หรือความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุกเว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้ กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปีใน
- กรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถเป็นผู้ขาดคุณสมบัติตามข้อ 8 แต่ต้องพ้นโทษจำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่า
- หกเดือนสำหรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาไม่เกินสามเดือน
- (หนึ่งปีสำหรับจำคุกตามคำพิพากษาไม่เกินสามเดือนในเดือนในคดีเกี่ยวด้วยการใช้รถกระทำความผิดหรือ
- หนึ่งปีหกเดือนสำหรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาเกินสามเดือนแต่ไม่เกินสามปีและได้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียน โดยชี้แจงเหตุผลที่ตนต้องโทษพร้อมกับแสดงหลักฐาน ว่าตนเป็นบุคคลที่มีความประพฤติเรียบร้อยควรไว้วางใจให้ขับรถยนต์สาธารณะ หรือรถจักรยานยนต์สาธารณะได้ แล้วแต่กรณี ให้นายทะเบียนดำเนินการสอบสวนคำร้องดังกล่าว ถ้าเห็นด้วยกับคำร้องก็ให้มีอำนาจออกใบอนุญาตขับรถให้ได้ โดยมิให้นำบทบัญญัติมาตรา 49 (8) มาใช้บังคับแต่ถ้าไม่เห็นด้วยให้สั่งยกคำร้องและแจ้งให้ผู้ขอทราบ
ระยะเวลาการยื่นคำขอ
- ต้องดำเนินการทดสอบสมรรถภาพ, อบรม, ทดสอบภาคทฤษฎีและทดสอบภาคปฏิบัติให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา 90 วัน นับแต่วันที่ยื่นคำขอ
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาต
- ผู้ขอผ่านการทดสอบสมรรถภาพ,อบรม,ทดสอบภาคทฤษฎี (ข้อเขียน) หากผลการทดสอบไม่ผ่าน ผู้ยื่นคำขอจะต้องดำเนินการทดสอบแก้ตัวภายในระยะเวลาที่กำหนด (ต้องดำเนินการทดสอบสมรรถภาพ , อบรม , ทดสอบภาคทฤษฎีและทดสอบภาคปฏิบัติให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา 90 วัน นับแต่วันที่ยื่นคำขอ) ตามขั้นตอนครบถ้วน ถูกต้องแล้ว
- ผู้ขอผ่านการตรวจสอบประวัติอาชญากรแล้วผลการตรวจสอบประวัติปรากฏว่าไม่พบประวัติอาชญากรรมก่อนออกใบอนุญาตขับรถ
ขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
- ตรวจสอบหลักฐานและคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ขอ จัดทำคำขอให้ผู้ขอลงนามและจองคิวอบรมพร้อมจัดทำหนังสือตรวจสอบประวัติอาชญากรให้ผู้ขอถือไปสำนักงานตำรวจแห่งชาติด้วยตนเอง
– การตรวจสอบประวัติอาชญากรของผู้ยื่นคำขอ หน่วยงานผู้รับผิดชอบ คือ ฝ่ายทะเบียนประวัติอาชญากร 5 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองทะเบียนประวัติอาชญากร - ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย 20 นาที
- อบรม (จำนวน 5 ชั่วโมง)
- ทดสอบภาคทฤษฎี (เกณฑ์การผ่านการทดสอบ 90%) 1 ชั่วโมง
- ทดสอบภาคปฏิบัติ (ทดสอบขับรถตามเส้นทางที่นายทะเบียนกำหนด สำหรับใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ) 1 ชั่วโมง
- รอผลการตรวจสอบประวัติอาชญากร (30 วันทำการ) ผลการตรวจสอบประวัติปรากฏว่าไม่พบประวัติอาชญากรรมและผ่านขั้นตอนครบถ้วนถูกต้องแล้ว
- ชำระค่าเงินธรรมเนียม / ออกใบเสร็จรับเงิน / พิมพ์ใบอนุญาตขับรถ / จัดทำบัตรประจำตัวผู้ขับรถ / จ่ายใบอนุญาตขับรถ (ผู้ยื่นคำขอจะดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมได้ก็ต่อเมื่อทราบผลการตรวจสอบประวัติอาชญากรแล้วผ่านการอบรมทดสอบตามขั้นตอนที่กำหนด )
- ตรวจสอบหลักฐานและคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ขอ จัดทำคำขอให้ผู้ขอลงนามและจองคิวอบรมพร้อมจัดทำหนังสือตรวจสอบประวัติอาชญากรให้ผู้ขอถือไปสำนักงานตำรวจแห่งชาติด้วยตนเอง
หมายเหตุ
- ขั้นตอนการดำเนินงานตามคู่มือจะเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่เจ้าหน้าที่ ตรวจสอบเอกสารครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในคู่มือสำหรับประชาชนเรียบร้อยแล้ว
- การชำระค่าธรรมเนียมต้องดำเนินการภายในเวลา 15.30 น. หากไม่สามารถชำระเงินได้ทันให้มาดำเนินการต่อในวันทำการถัดไป
- ระยะเวลารอคอยเฉลี่ยระหว่างขั้นตอนและ/หรือระยะเวลาการติดต่อแผนกอื่น หรือสถานที่อื่นระหว่างขั้นตอนนับรวมไว้ใน “ระยะเวลาดำเนินการรวม”
หลักเกณฑ์การนำเอกสารการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมมายื่นประกอบ กรณีเคยต้องโทษจำคุก
- กรณีเคยจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ต้องพ้นโทษมาไม่น้อยกว่า 6 เดือน
- กรณีเคยจำคุกเกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี ต้องพ้นโทษมาไม่น้อยกว่า 1 ปี 6 เดือน
- กรณีเคยจำคุกเกิน 3 ปี ต้องพ้นโทษมาไม่น้อยกว่า 3 ปี
- กรณีอื่น ๆ เช่นโดนปรับ รอลงอาญา รอขึ้นศาล ต้องมีเอกสารจากทางคดีจาก สถานีตำรวจมา มายืนยันชี้แจงเกี่ยวกับคดีความของผู้ขอตรวจสอบประวัติอาชญากร
ช่องทางการให้บริการ
- ติดต่อได้ ณ สำนักงานขนส่งทุกเขตพื้นที่ ทั่วประเทศ
- ในเขตกรุงเทพฯ
- กรมการขนส่งทางบก (อาคาร 4 ชั้น 2)
- สำนักงานขนส่งเขต พื้นที่ 1 – 4
- ต่างจังหวัด ติดต่อได้ที่สำนักงานขนส่งของแต่ละจังหวัด
รายการเอกสารหลักฐานประกอบ
- บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง)
- ใบรับรองแพทย์ (ฉบับจริง 1 ฉบับ) ( ออกก่อนวันยื่นคำขอไม่เกิน 1 เดือน)
- ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราวที่ได้รับมาแล้วไม่น้อยว่า 1 ปี (ฉบับจริง 1 ฉบับ / สำเนา 1 ฉบับ)
- รูปถ่าย 5×6.5 ซม. (ฉบับจริง 3 ฉบับ) (เป็นรูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรงไม่สวมหมวกหรือแว่นตาสีเข้มและไม่ใส่ผ้าคลุมใบหน้าหรือผ้าโพกศรีษะเว้นแต่ผู้ซึ่งมีความจำเป็นตามศาสนานิกายของศาสนาหรือลัทธินิยมของศาสนาของตน และถ่ายก่อนวันยื่นคำขอไม่เกิน 6 เดือน )
ค่าธรรมเนียม
- ค่าธรรมเนียมคำขอ 5 บาท
- ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ 300 บาท
- ค่าธรรมเนียมบัตรประจำตัวผู้ขับรถ 20 บาท
- ค่าธรรมเนียมแก้ไขรายการในใบอนุญาตขับรถ 50 บาท
อายุใบอนุญาต
- มีอายุ 3 ปี
กรณีสอบไม่ผ่าน
- ผู้เข้าสอบจะได้รับใบนัดเพื่อทำการสอบใหม่ (หากใบนัดหาย ให้นำบัตรประชาชนมาติดต่อที่สนามสอบขับรถ และแจ้งกับเจ้าหน้าที่ที่สนามสอบได้เลย)
- ใบนัดมีอายุ 90 วัน จากวันที่ยื่นเอกสารในครั้งแรก จนถึงขั้นตอนสอบขับรถ และหากเกิน 90 วัน จะต้องเริ่มต้นใหม่ทุกขั้นตอน
- เมื่อถึงกำหนดวันนัดสอบแล้ว แต่ไม่สามารถมาสอบได้ ผู้สอบสามารถมาติดต่อในวันถัดไปได้โดยไม่ต้องขอเลื่อนนัดล่วงหน้า
หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม