ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว 2 ปี
คุณสมบัติ
- มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
- มีร่างกายที่ไม่บกพร่อง เช่น ตาบอด ตาบอดสี หูหนวก แขนขาดทั้ง 2 ข้าง
หลักฐานประกอบคำขอ
- บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง)
- ใบรับรองแพทย์ไม่เกิน 1 เดือน
ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายจากการขับรถมี 4 กลุ่ม ได้แก่
- ผู้ป่วยโรคลมชักที่ยังควบคุมอาการไม่ได้
- ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทางสมอง
- ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รักษาด้วยยาฉีดอินซูลิน
- ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือผ่านการผ่าตัดหัวใจหรือขยาย เส้นเลือดหัวใจ
ซึ่งแพทย์ได้วินิจฉัยแล้วว่าเป็นความเจ็บป่วยที่เป็นอุปสรรคต่อการขับรถ ยกเว้นผู้ที่ได้รับการอนุญาตจากแพทย์
ขั้นตอนและเวลาดำเนินการขอรับใบอนุญาตขับรถที่กรมการขนส่งทางบก
- เวลา 08.00 น. – 09.00 น. ยื่นคำขอ ทดสอบสายตาบอดสี
- อบรมตามหลักสูตรผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถ
- ทดสอบข้อเขียนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-exam) มี 5 ภาษา ไทย จีน อังกฤษ ญี่ปุ่น และภาษายาวี (สำหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้)
- ประกาศผลสอบข้อเขียน ทดสอบขับรถ และรอรับใบอนุญาต
หมายเหตุ กรณีทำบัตรครั้งแรก จองบัตรคิวทุกครั้ง
การอบรม
- กรณีขอใบอนุญาตครั้งแรก ผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรในวิชา ดังต่อไปนี้ (เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง
– กฎหมายที่เกี่ยวข้อง (กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยทางหลวง และกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก)
– การขับรถอย่างปลอดภัย
– จิตสำนึกและมารยาทในการขับรถ
– ข้อปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินและการให้ความช่วยเหลือและปฐมพยาบาล
- กรณีขอใบอนุญาตครั้งแรก ผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรในวิชา ดังต่อไปนี้ (เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง
**กรณีที่มีการอบรมภาคทฤษฎี , ทดสอบข้อเขียน , ทดสอบภาคปฏิบัติ จากหน่วยงานภายนอก จะต้องจองคิวผ่าน Application เพื่อดำเนินการออกใบอนุญาตขับรถจากกรมการขนส่งทางบก / สำนักงานขนส่ง
เงื่อนไข :
- เอกสารการผ่านอบรมภาคทฤษฎีจากสถาบันภายนอก มีอายุ 6 เดือน
- หลังจากที่ยื่นเอกสารการผ่านอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ขนส่งแล้ว จะต้องสอบข้อเขียนและสอบภาคปฎิบัติให้ผ่านภายใน 90 วัน (ถ้าสอบไม่ผ่านจะต้องไปอบรมภาคทฤษฎีใหม่)
หมายเหตุ
- ในกรณีผู้ที่อ่านหนังสือไม่ออก จะมีเจ้าหน้าอ่านข้อสอบให้และให้ตอบปากเปล่า
- ขั้นตอนและระยะเวลาในการขอรับใบอนุญาตในแต่ละสำนักงานขนส่งแต่ละเขตพื้นที่เวลาอาจคลาดเคลื่อนแล้วแต่ความเหมาะสม
- การจำกัดจำนวนหรือโควตาในการทำใบอนุญาตขับรถแต่ละเขตจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับสถานที่และความเหมาะสมของสำนักงานขนส่งแต่ละเขตพื้นที่
- การขอใบอนุญาตขับรถ สามารถยื่นเรื่องและได้รับใบอนุญาต ประมาณ 2 วันทำการ
*** ยื่นหลักฐาน ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย อบรม 5 ชั่วโมง สอบข้อเขียน สอบขับรถ ชำระค่าธรรมเนียม และรับใบอนุญาต กรณีที่สอบผ่าน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการติดต่อขอใช้บริการของประชาชน สามารถสอบถามระยะเวลาที่ชัดเจนกับเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง ซึ่งการดำเนินการขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่*** - ให้ติดต่อจองคิวล่วงหน้าก่อนไปติดต่อการทำใบอนุญาตขับรถทุกครั้ง
หมายเหตุ : กรณีสอบไม่ผ่าน
- ผู้เข้าสอบจะได้รับใบนัดเพื่อทำการสอบใหม่ (หากใบนัดหาย ให้นำบัตรประชาชนมาติดต่อที่สนามสอบขับรถ และแจ้งกับเจ้าหน้าที่ที่สนามสอบได้เลย)
- ใบนัดมีอายุ 90 วัน จากวันที่ยื่นเอกสารในครั้งแรก จนถึงขั้นตอนสอบขับรถ และหากเกิน 90 วัน จะต้องเริ่มต้นใหม่ทุกขั้นตอน
- เมื่อถึงกำหนดวันนัดสอบแล้ว แต่ไม่สามารถมาสอบได้ ผู้สอบสามารถมาติดต่อในวันถัดไปได้โดยไม่ต้องขอเลื่อนนัดล่วงหน้า
หลักฐานประกอบคำขอเพิ่มเติมเพื่อขอยกเว้นการทดสอบในการทำใบขับขี่
- ใบอนุญาตที่ยังไม่หมดอายุพร้อมภาพถ่าย ผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถจะได้ยกเว้นการทดสอบทั้งหมด
- ใบอนุญาตขับรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร
- ใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศสำหรับรถยนต์
- ใบอนุญาตขับรถยนต์ที่รัฐบาลต่างประเทศออกให้ และยังไม่หมดอายุพร้อมภาพถ่าย โดยใบอนุญาตขับรถต่างประเทศต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทย ซึ่งได้รับการรับรองคำแปลจากสถานทูต
อัตราค่าธรรมเนียม
- ค่าคำขอ ฉบับละ 5 บาท
- ค่าใบอนุญาตขับรถยนต์ชั่วคราว ฉบับละ 200 บาท ต่อ 2 ปี
สถานที่ติดต่อ
- ในเขตกรุงเทพฯ
- กรมการขนส่งทางบก
- สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 4
- ต่างจังหวัด ติดต่อได้ที่สำนักงานขนส่งส่วนภูมิภาคของแต่ละจังหวัด
- ในเขตกรุงเทพฯ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม
Post Views:
2,709