สิทธิในการหักค่าใช้จ่าย
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 รวมเงินได้ประเภทที่ 2
- เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 (ค่าจ้าง เงินเดือน เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ โบนัส สวัสดิการหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้จากการจ้างแรงงาน) และ
- เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2 (ค่าตำแหน่งงานที่ทำ ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เงินโบนัส เบี้ยประชุม เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือ จากการรับทำงานให้นั้น ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว)
เงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน
- ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดในประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 45) ให้คำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร เป็น เงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใด ให้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้เท่านั้น การคำนวณตามเกณฑ์ในมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3 (ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล)
- ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากฎหมายยอมให้หักค่า ใช้จ่ายได้เฉพาะเงินได้ที่เป็นค่าแห่งลิขสิทธิ์ โดยให้หักเป็นการเหมาได้ร้อยละ 50 ของค่าแห่งลิขสิทธิ์แต่ไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับค่าแห่งกู๊ดวิลล์ หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจาก พินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล ไม่ยอมให้หักค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ในกรณีสามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ประเภทนี้ และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างหักค่าใช้จ่ายได้ตามเกณฑ์เดียวกัน
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 (ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ เป็นต้น)
- ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กฎหมายไม่ยอมให้หัก ค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5 (เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือประโยชน์อย่างอื่น ที่ได้เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สิน การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว)
- ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กฎหมายให้หักค่าใช้จ่ายได้ ดังนี้ คือ การให้เช่าทรัพย์สิน ผู้มีเงินได้มีสิทธิเลือกหักค่าใช้จ่ายวิธีใดวิธีหนึ่งดังนี้
- ถ้าเป็นบ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือแพ ในกรณีเจ้าของเป็นผู้ให้เช่า ให้หักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 30 ยกเว้นในกรณีให้เช่าช่วงให้หักค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าเช่าที่เสียให้แก่ผู้ให้เช่าเดิม หรือผู้ให้ เช่าช่วง แล้วแต่กรณี
- ที่ดินที่ใช้ในการเกษตรกรรม ในกรณีเจ้าของเป็นผู้ให้เช่า ให้หักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 20 ในกรณีให้เช่าช่วงให้หักค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าเช่าที่เสียให้แก่ผู้ให้เช่าเดิม หรือผู้ให้เช่าช่วงแล้วแต่กรณี
- ที่ดินที่มิได้ใช้ในการเกษตรกรรม ในกรณีที่เจ้าของเป็นผู้ให้เช่าหักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 15 ในกรณีให้เช่าช่วงให้หักค่าใช้จ่ายได้เฉพาะค่าเช่าที่เสียให้ แก่ผู้ให้เช่าเดิม หรือผู้ให้เช่าช่วงแล้วแต่กรณี
- ยานพาหนะ ในกรณีเจ้าของเป็นผู้ให้เช่าให้หักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 30 ในกรณี ให้เช่าช่วงให้หักค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าเช่าที่เสียให้แก่ผู้ให้เช่าเดิม หรือผู้ให้เช่าช่วงแล้วแต่กรณี
- ทรัพย์สินอย่างอื่น ในกรณีเจ้าของเป็นผู้ให้เช่าให้หักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 10 ในกรณีให้เช่าช่วงให้หักค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าเช่าที่เสียให้แก่ผู้ให้เช่าเดิม หรือผู้ให้เช่าช่วงแล้วแต่กรณี
- การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน กฎหมายยอมให้ผู้มีเงินได้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา ได้ร้อยละ 20 วิธีเดียว การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน ซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว กฎหมายยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 20 วิธีเดียว
- ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กฎหมายให้หักค่าใช้จ่ายได้ ดังนี้ คือ การให้เช่าทรัพย์สิน ผู้มีเงินได้มีสิทธิเลือกหักค่าใช้จ่ายวิธีใดวิธีหนึ่งดังนี้
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 6 (เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป์ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้)
- ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กฎหมายยอมให้เลือกหัก ค่าใช้จ่ายวิธีใดวิธีหนึ่งดังนี้
- ให้หักตามความจำเป็นและสมควรหรือให้หักเป็นการเหมาดังต่อไปนี้
- เงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ การประกอบโรคศิลป์ ให้หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 60
- เงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระนอกจาก การประกอบโรคศิลป์ หักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 30
- ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กฎหมายยอมให้เลือกหัก ค่าใช้จ่ายวิธีใดวิธีหนึ่งดังนี้
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 7 (เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ)
- ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กฎหมายยอมให้หักค่า ใช้จ่ายวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้ หักได้ตามความจำเป็นและสมควร หรือหักเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 60
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 (เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว)
- ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กฎหมายยอมให้เลือกหัก ค่าใช้จ่ายวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้
- หักตามความจำเป็นและสมควร หรือหักเป็นการเหมาในอัตราร้อยละตามที่กฎหมายกำหนด
- การเก็บค่าต๋งหรือค่าเกมจากการพนัน การแข่งขันหรือการเล่นต่าง ๆ ร้อยละ 60
- การถ่าย ล้าง อัด หรือขยายรูป ภาพยนตร์ รวมทั้งขายส่วนประกอบ หักได้ร้อยละ 60
- การทำกิจการคานเรือ อู่เรือ หรือซ่อมเรือที่มิใช่ซ่อมเครื่องจักร เครื่องกล หักได้ร้อยละ 60
- การทำรองเท้า และเครื่องหนังแท้ หรือหนังเทียม รวมทั้งการขายส่วนประกอบ หักได้ร้อยละ 60
- การตัด เย็บ ถัก ปักเสื้อผ้า หรือสิ่งอื่น ๆ รวมทั้งการขายส่วนประกอบ หักได้ร้อยละ 60
- การทำ ตกแต่ง หรือซ่อมเครื่องเรือน รวมทั้งการขายส่วนประกอบ หักได้ร้อยละ 60
- การทำกิจการโรงแรม หรือภัตตาคาร หรือปรุงอาหารหรือเครื่องดื่มจำหน่าย หักได้ร้อยละ 60
- การดัด ตัด แต่งผม หรือตกแต่งร่างกาย หักได้ร้อยละ 60
- การทำสบู่ แซมพู หรือเครื่องสำอาง หักได้ร้อยละ 60
- การทำวรรณกรรม หักได้ร้อยละ 60
- การค้าเครื่องเงิน ทอง นาก เพชรพลอย หรืออัญมณีอื่น ๆ รวมทั้งการขายส่วนประกอบ หักได้ร้อยละ 60
- การทำกิจการสถานพยาบาล ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลเฉพาะ ที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน รวมทั้งการรักษาพยาบาลและการจำหน่ายยา หักได้ร้อยละ 60
- การโม่หรือย่อยหิน หักได้ร้อยละ 60
- การทำป่าไม้ สวนยาง หรือไม้ยืนต้น หักได้ร้อยละ 60
- การขนส่ง หรือรับจ้างด้วยยานพาหนะ หักได้ร้อยละ 60
- การทำบล็อกและตรา การรับพิมพ์หรือเย็บสมุด เอกสารรวมทั้งการขายส่วนประกอบ หักได้ร้อยละ 60
- การทำเหมืองแร่ หักได้ร้อยละ 60
- การทำเครื่องดื่มตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเครื่องดื่ม หักได้ร้อยละ 60
- การทำเครื่องกระเบื้อง เครื่องเคลือบ เครื่องซีเมนต์ หรือดินเผา หักได้ร้อยละ 60
- การทำหรือจำหน่ายกระแสไฟฟ้า หักได้ร้อยละ 60
- การทำน้ำแข็ง หักได้ร้อยละ 60
- การทำกาว แป้งเปียก หรือสิ่งที่มีลักษณะเดียวกัน และการทำแป้งชนิดต่าง ๆ ที่มิใช่เครื่องสำอาง หักได้ร้อยละ 60
- การทำลูกโป่ง เครื่องแก้ว เครื่องพลาสติก หรือเครื่องยางสำเร็จรูป หักได้ร้อยละ 60
- การซักรีด หรือย้อมสี หักได้ร้อยละ 60
- การขายของนอกจากที่ระบุไว้ในข้ออื่น ซึ่งผู้ขายมิได้เป็นผู้ผลิต เช่นร้านค้าส่ง ร้านค้าปลีกทั่วไป หรือร้านโชว์ห่วย ร้านเซเว่น,ร้านมินิมาร์ท เป็นต้น หักได้ร้อยละ 60
- รางวัลที่เจ้าของม้าได้จากการส่งม้าเข้าแข่ง หักได้ร้อยละ 60
- การรับสินไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝาก หรือการได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโดยเด็ดขาดจากการขายฝาก หักได้ร้อยละ 60
- การรมยาง การทำยางแผ่น หรือยางอย่างอื่นที่มิใช่ยางสำเร็จรูป หักได้ร้อยละ 60
- การฟอกหนัง หักได้ร้อยละ 60
- การทำน้ำตาล หรือน้ำเหลืองของน้ำตาล หักได้ร้อยละ 60
- การจับสัตว์น้ำ หักได้ร้อยละ 60
- การทำกิจการโรงเลื่อย หักได้ร้อยละ 60
- การกลั่น หรือหีบน้ำมัน หักได้ร้อยละ 60
- การให้เช่าซื้อ สังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตามมาตรา 40 (5) แห่งประมวลรัษฎากร หักได้ร้อยละ 60
- การทำกิจการโรงสีข้าว หักได้ร้อยละ 60
- การทำเกษตรกรรมประเภทไม้ล้มลุก และธัญชาติ หักได้ร้อยละ 60
- การอบหรือบ่มใบยาสูบ หักได้ร้อยละ 60
- การเลี้ยงสัตว์ทุกชนิด รวมทั้งการขายวัตถุพลอยได้ หักได้ร้อยละ 60
- การฆ่าสัตว์จำหน่าย รวมทั้งการขายวัตถุพลอยได้ หักได้ร้อยละ 60
- การทำนาเกลือ หักได้ร้อยละ 60
- การขายเรือกำปั่นหรือเรือมีระวางตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไป หรือกลไฟ หรือเรือยนต์มีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป หรือแพ หักได้ร้อยละ 60
- การขายที่ดินเงินผ่อนหรือการให้เช่าซื้อที่ดิน หักได้ร้อยละ 60
- การแสดงของนักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุหรือโทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือ นักแสดงเพื่อความบันเทิงใด ๆ
ก สำหรับเงินได้ส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท หักได้ร้อยละ 60
ข สำหรับเงินได้ส่วนที่เกิน 300,000 บาท หักได้รัอยละ 40
**โดยการหักค่าใช้จ่ายตาม ก และ ข รวมกันต้องไม่เกิน 600,000 บาท
หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง
Post Views:
1,927