การเปลี่ยนชื่อ
หลักเกณฑ์ / คุณสมบัติ
การเปลี่ยนชื่อตัวและชื่อรอง
ตาม พ.ร.บ. ชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 บุคคลสัญชาติไทยต้องมีชื่อตัวและชื่อสกุลและจะมีชื่อรองด้วยก็ได้
- ชื่อตัว คือ ชื่อประจำตัวบุคคล
- ชื่อรอง คือ ชื่อซึ่งประกอบถัดจากชื่อตัว
- ชื่อสกุล คือ ชื่อประจำวงศ์สกุล
หลักเกณฑ์การตั้งชื่อตัวและชื่อรอง
- ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย หรือพระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม
- ต้องไม่เป็นคำหยาบหรือมีความหมายหยาบคาย
- ต้องไม่มีเจตนาในทางทุจริต
- ผู้ได้รับหรือเคยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ โดยมิได้ถูกถอด จะใช้ราชทินนามตามบรรดาศักดิ์เป็นชื่อตัวจริง ชื่อรองก็ได้
- การตั้งชื่อรองจะต้องมีความหมายในภาษาไทย ควรปรากฏอยู่ในพจนานุกรมด้วย
- ชื่อรองไม่กำหนดว่าจะต้องใช้กี่พยางค์
เอกสารที่ใช้
- ทะเบียนบ้าน
- บัตรประจำตัวประชาชน
- ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (กรณีบุคคลต่างด้าว)
- แบบฟอร์มคำขอทะเบียนชื่อบุคคล (ช.1)
- สูติบัตร (กรณียังมิได้ทำบัตรประจำตัวประชาชน)
ขั้นตอนการดำเนินงาน
- ผู้ยื่นคำขอตามแบบ ช1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
- นายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบคำขอกับทะเบียนบ้าน และชื่อที่ขอเปลี่ยนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
- กรณีอนุญาตสำหรับบุคคลสัญชาติไทย นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัวชื่อรอง (แบบช.3) ให้เป็นหลักฐาน
- กรณีบุคคลต่างด้าว นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือรับรองการเปลี่ยนชื่อตัวของคนต่างด้าวให้ เพื่อประกอบหลักฐานการแปลงชาติ หรือคืนสัญชาติเป็นไทยเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว นายทะเบียนท้องที่ จึงออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อรองให้เป็นหลักฐาน และเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 50 บาท
- เมื่อได้รับหนังสือสำคัญแล้ว ให้ผู้ขอนำหนังสือดังกล่าวไปขอแก้ไขรายการในทะเบียนบ้านและหลักฐานอื่น ๆ ให้ถูกต้อง และขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนด้วย
ค่าธรรมเนียม
- ค่าธรรมเนียม 50 บาท
สถานที่ติดต่อ
- สำนักงานเขต
- ที่ว่าการอำเภอ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
ที่มา www.dopa.go.th
Post Views:
28,667