การย้ายที่อยู่และทะเบียนบ้านจากปลายทาง (ย้ายปลายทาง)
หลักเกณฑ์ / คุณสมบัติ
- การแจ้งย้ายปลายทาง หมายถึง ผู้ที่ย้ายที่อยู่สามารถไปแจ้งย้ายออกและย้ายเข้า ณ สำนักทะเบียนแห่งที่อยู่ใหม่ โดยไม่ต้องเดินทางกลับไปแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้านเดิม ทั้งนี้ ผู้ที่อยู่ควรเป็นผู้แจ้งย้ายด้วยตนเอง
- การแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง สามารถแจ้งย้ายในคราวเดียวกันได้ ครั้งละไม่เกินจำนวน 3 คน
- บุคคลที่จะย้ายเข้าทะเบียนบ้าน ต้องไปแสดงตัวยืนยันต่อหน้าเจ้าหน้าที่ทะเบียนเท่านั้น เพื่อสอบปากคำสาเหตุในการย้ายที่อยู่
เอกสารที่ใช้
- ทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ของบ้านที่จะย้ายเข้า
- บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้าอยู่ใหม่ พร้อมหนังสือยินยอมให้เข้าอยู่ในบ้านของเจ้าบ้าน
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งย้าย
- หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมด้วยสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ที่ลงชื่อไว้ ทั้งผู้มอบและผู้รับมอบ
ขั้นตอนการดำเนินงาน
- ยื่นหลักฐานต่อนายทะเบียนท้องที่ที่จะย้ายเข้า
- นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และลงรายการในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ทั้ง 3 ตอน โดยให้ผู้แจ้งลงลายมือชื่อในช่องผู้แจ้งย้ายออก และช่องผู้แจ้งย้ายเข้า สำหรับช่องเจ้าบ้านผู้ยินยอมให้ย้ายเข้า ให้เขียนชื่อ – สกุลตัวบรรจง และคืนทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านและบัตรประชาชนแก่ผู้แจ้ง
- เมื่อได้รับใบตอบรับ (ท.ร.6 ตอน 2) จากสำนักทะเบียนต้นทาง ให้แจ้งผู้ย้ายที่อยู่นำสำเนา ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านมาดำเนินการเพิ่มชื่อให้ถูกต้องตรงกับทะเบียนบ้าน
ค่าธรรมเนียม
- ชำระค่าธรรมเนียม 20 บาท ต่อการยื่นเรื่อง 1 ครั้ง
สถานที่ติดต่อ
- สำนักงานเขต
- ที่ว่าการอำเภอที่ย้ายเข้า
- สำนักงานเทศบาล
หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
ที่มา www.dopa.go.th
Post Views:
84,322