ทำไมถึง เรียก “ระบาดระลอกใหม่"
- การระบาดระลอกใหม่ (Newly Emerging) เป็นการติดเชื้อใหม่จากอีกกลุ่ม (แรงงานต่างด้าว) ไม่ได้เชื่อมโยงกับการระบาดในระลอกแรก (สนามมวย/ผับที่ทองหล่อ) ซึ่งจบไปแล้วเมื่อเดือนเดือนพฤษภาคม 2563
- ส่วนการระบาดระลอก 2 (Re-Emerging) ต้องมีผลพวงจากระบาดรอบแรก
- ดังนั้น Case แพกุ้งจึงเรียกว่าการระบาดระลอกใหม่
การปิดสถานที่เสี่ยงเป็นการชั่วคราว
การจำแนกการควบคุมพื้นที่ตามสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19
- จำแนกตามจำนวนผู้ติดเชื้อและแนวโน้มการระบาด
- จำแนกตามจำนวนและลักษณะพื้นที่เกิดเหตุ
โดยผู้ว่าราชการจังหวัด (ประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด) จะเป็นผู้กำหนดว่า พื้นที่ใดในจังหวัดตนเองเป็นพื้นที่ควบคุมระดับใด รวมถึงกำหนดมาตรการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ต่อไป
*** หมายเหตุ : พื้นที่ควบคุมแต่ละระดับ อาจจะไม่ได้กำหนดทั้งจังหวัด
- ผู้ว่าราชการจังหวัดจะเป็นผู้พิจารณาและออกคำสั่งว่าสถานที่ดังกล่าวมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคหรือไม่ ให้ปฏิบัติตามประกาศจังหวัดของแต่ละจังหวัด
- อ่านเพิ่มเติมได้ที่ รวมการปิดสถานที่เสี่ยงเป็นการชั่วคราว
จังหวัดสมุทรสาคร
- ปิดสถานศึกษาเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2564 หรือจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครและศูนย์เด็กเล็ก
- ปิดการเรียนการสอนโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 437 แห่ง และปิดศูนย์เด็กเล็กจำนวน 292 แห่ง ถึงวันที่ 31 มกราคม 2564
28 จังหวัด ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด
- กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศให้สถานศึกษาในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการปิดเรียนด้วยเหตุพิเศษ ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 4 มกราคม-อาทิตย์ที่ 31 มกราคม 2564 หรือจนกว่าจะมีการประกาศเปลี่ยนแปลง ได้แก่
- กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี นครนายก
- สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร
- นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์
- พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี
- กาญจนบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง ตาก
- ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว
- ชลบุรี จันทบุรี ระยอง ตราด
- ชุมพร ระนอง
- จากเดิมสามารถจำหน่ายอาหารและนั่งรับประทานอาหารได้ระหว่างเวลา 06.00 – 19.00 น. ขยายเวลาเป็น 06.00 – 21.00 น.
- ส่วนเวลา 21.00 – 06.00 น. ให้เป็นการจำหน่ายอาหารแบบสั่งกลับบ้าน (Take Away) โดยเริ่มดำเนินการพร้อมกันตั้งแต่เวลา 06.00 น. วันที่ 5 มกราคม 2564 เป็นต้นไป
- ขณะนี้ยังไม่ประกาศล็อคดาวน์เมือง แต่มีมาตรการการเตรียมความพร้อมในการป้องกันการระบาดใหม่ของโควิด 19 โดยให้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วนตามระดับความเสี่ยง โดยประเมินจากระดับความเสี่ยงสูงไปถึงความเสี่ยงต่ำ
- กทม. มีประกาศปิดสถานที่ 4 แห่ง ระหว่าง 29 ธ.ค. – 4 ม.ค. 64 ได้แก่
1. สนามม้า
2. สนามไก่ชน และสนามซ้อมไก่ชน
3. สนามชนโค สนามกัดปลา หรือสนามแข่งขันอื่นในลักษณะทำนองเดียวกัน
4. สถานบริการ หรือสถานประกอบการที่คล้ายสถานบริการ กิจการอาบ อบ นวด - ระบบ BKKcovid19 http://bkkcovid19.bangkok.go.th/ หากท่านได้เดินทางไปยังสถานที่ดังต่อไปนี้ กรุณาคลิกปุ่ม “ติดต่อ” เพื่อติดต่อสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ด่วน!!!
คำถามเกี่ยวกับจังหวัดสมุทรสาคร
คำสั่งจังหวัดสมุทรสาครที่ 10/2564 เรื่องสั่งปิดตลาดกลางกุ้ง จ.สมุทรสาคร และหอพักศรีเมือง ต.มหาชัย อ.เมืองสมุทรสาคร เป็นการชั่วคราว ครั้งที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 4 – 31 มกราคม 2564 จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
- สั่งปิดตลาดกลางกุ้ง จ.สมุทรสาคร และหอพักศรีเมือง ต.มหาชัย อ.เมืองสมุทรสาคร เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 4 – 31 ม.ค.2564
- คำสั่งจังหวัดสมุทรสาครที่ 10/2564เรื่องสั่งปิดตลาดกลางกุ้ง จ.สมุทรสาคร และหอพักศรีเมือง ต.มหาชัย อ.เมืองสมุทรสาคร เป็นการชั่วคราว ครั้งที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 4 – 31 ม.ค.2564 จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
- สำหรับผู้ที่ฝ่าฝืน มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท และมีความผิดตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และความผิดฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ปิดสถานที่ชั่วคราว จนถึง 15 มกราคม 2564
- สถานที่เล่นการพนันทุกประเภท ตามกฏหมายว่าด้วยการพนัน ได้แก่ ชนไก่ กัดปลา ชนมวย วัวลาน ฯลฯ ตลอดจนสถานที่ที่จัดให้มีการซ้อมชนไก่ด้วย
- สนามกีฬาของรัฐและเอกชนทุกแห่ง
- สนามมวยโรงเรียนสอนมวยของรัฐและเอกชน
- สนามเด็กเล่น
- สถานศึกษาทุกประเภทของรัฐและเอกชน รวมทั้งสถาบันกวดวิชา โรงเรียนสอนวิชาชีพ โรงเรียนสอนทักษะกีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติวิทยาเขตสมุทรสาคร สถานรับเลี้ยงเด็ก และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- ร้านอาหาร และเครื่องดื่มร้านอาหาร และเครื่องดื่มที่อยู่ในคูหา รถเข็น และแผงลอยจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ภัตตาคาร ห้องอาหาร สโมสร หรือสถานประกอบการอื่นใด ที่จำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ทั้งนี้ ผ่อนผันให้สามารถเปิดบริการได้เฉพาะการจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มเพื่อนำกลับไปบริโภคที่อื่นเท่านั้นยกเว้นโรงอาหารในโรงพยาบาลและโรงแรมที่จดทะเบียนถูกต้องตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 สามารถเปิดให้บริการได้ตามปกต
- ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้ มอลล์ หรือห้างสรรพสินค้าในลักษณะเดียวกันโดยเปิดให้บริการเฉพาะร้านขายยา ร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือสถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน และร้านจำหน่ายอาหารตามกำหนดเวลาทำการปกติของสถานที่นั้นๆ และต้องปิดบริการภายในเวลา 22.00 น.
- ร้านสะดวกซื้อ หรือร้านค้าปลีก ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ซึ่งเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมงโดยให้ปิดบริการตั้งแต่ 22.00 น. ถึงศูนย์ 5.00 น. และงดให้บริการพื้นที่นั่ง หรือยืนรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มภายในร้าน โดยจัดให้มีมาตรการควบคุมโรคโดยกำหนดให้ลูกค้าทุกท่านที่เข้าร้านต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า จัดให้มีแอลกอฮอล์เจลล้างมือ และจัดให้มีการเว้นระยะห่างของลูกค้า 1- 2 เมตร
- ตลาด และตลาดนัด ให้เปิดเฉพาะการจำหน่ายอาหารสด อาหารแห้ง อาหารปรุงสำเร็จหรือเครื่องดื่มเพื่อนำกลับไปบริโภคที่อื่น อาหารสัตว์ ยาและสินค้าเบ็ดเตล็ด อันจำเป็นต่อการดำรงชีวิต และจัดให้มีมาตรการควบคุมโรคโดยกำหนดให้ลูกค้าทุกท่านที่เข้าร้านต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า จัดให้มีแอลกอฮอล์เจลล้างมือ และจัดให้มีการเว้นระยะห่างของลูกค้า 1- 2 เมตร ให้เปิดตามประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสมุทรสาครที่เคยมีคำสั่งหรือประกาศที่กำหนดไว้ก่อนหน้านี้โดยให้ทุกตลาดเปิดทำการเพียง 6 ชั่วโมงเท่านั้น
- สถานบริการตามกฏหมายว่าด้วยสถานบริการ และสถานบันเทิงอื่นที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการร้านคาราโอเกะ รวมถึงสถานที่ซึ่งมุ่งเน้นการขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยนให้สุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อดื่มกินในสถานที่นั้น
- สวนสนุก สถานที่เล่นโบลิ่ง ตู้เกมส์ หรือเครื่องเล่นเกมส์ทุกประเภท
- ร้านเกมส์และร้านอินเตอร์เน็ต
- สระว่ายน้ำ สวนน้ำ หรือกิจการอื่นๆในทำนองเดียวกัน
- ศูนย์พระเครื่อง-พระบูชา และสนามพระเครื่อง-พระบูชา
- ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม หอประชุมห้องประชุม สโมสร หรืออาคารสถานที่อื่นใดของเอกชน ที่ให้บริการจัดเลี้ยงจัดประชุม สัมมนา และสถานที่จัดนิทรรศการ ยกเว้นสถานที่ราชการ
- สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ นวดแผนโบราณ นวดไทย นวดเพื่อสุขภาพ นวดเพื่อเสริมความงาม และห้ามให้บริการตามบ้านหรือสถานที่อื่นๆเว้นแต่การให้บริการดังกล่าวในโรงพยาบาลของรัฐ
- สถานที่ออกกำลังกายภายในอาคารฟิตเนสและสปาตามกฏหมายว่าด้วยสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
- สถานประกอบการ อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร
- โรงภาพยนตร์ โรงมหรสพ การใช้หนังกลางแปลง
- สถานที่การแสดงหรือการละเล่นสาธารณะ
- สถานที่ให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยง หรือรับฝากสัตว์
- ร้านเสริมสวย แต่งผม หรือตัดผม และห้ามให้บริการตามบ้านสถานที่อื่นๆ
- สถานที่ให้บริการควบคุมน้ำหนัก คลินิกเสริมความงาม และสถานเสริมความงาม
- สถานที่บริการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย
- สถานที่เล่นสเก็ต หรือโรลเลอร์เบลต หรือการเล่นอื่นๆในทำนองเดียวกัน
- สนามกอล์ฟหรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ
- บ่อตกปลา บ่อตกกุ้ง
- ทั้งนี้ สถานที่ที่ได้รับการยกเว้นตามประกาศนี้ หรือสถานที่อื่นนอกเหนือจากประกาศนี้ ให้ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด กรณีผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งฉบับนี้ มีโทษตามในมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ขอความร่วมมือประชาชนสมุทรสาคร
– งดออกนอกเคหะสถาน เวลา 22.00 – 05.00 น.
– คร่งครัดหน้ากากอนามัย
– ล้างมืออย่างสม่ำเสมอ
สำหรับตลาดและตลาดนัดอื่น กำหนดให้เปิดเฉพาะ
- การจำหน่ายอาหารสด อาหารแห้ง อาหารปรุงสำเร็จ หรือเครื่องดื่ม เพื่อนำกลับไปบริโภคที่อื่น อาหารสัตว์ ยาและสินค้าเบ็ดเตล็ดที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
- จัดให้มีมาตรการควบคุมโรค โดยกำหนดให้ ลูกค้าทุกคนที่เข้าร้านต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า จัดให้มีแอลกอฮอล์เจลล้างมือและจัดให้มีการเว้นระยะห่างของลูกค้า 1-2 เมตร โดยให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสมุทรสาครที่เคยมีคำสั่งหรือประกาศที่กำหนดไว้ก่อนหน้านี้โดยให้ทุกตลาดเปิดทำการเพียง 6 ชั่วโมงเท่านั้น
จุดตรวจทางบก 9 จุด
- จุดตรวจที่ 1 ถนนพระราม 2 ขาออก หน้าเทสโก้ โลตัส
- จุดตรวจที่ 2 ตลาดกลางกุ้ง สภ.กระทุ่มแบน 2 จุด
- จุดตรวจที่ 3 ปั๊ม ปตท. เพชรเกษม ขาออก กม.95
- จุดตรวจที่ 4 ปั๊ม ปตท. พุทธสาธร ขาเข้า สภ.บ้านแพ้ว 1
- จุดตรวจที่ 5 หน้าธนาคารกรุงไทย สภ.บางโทรัด 2 จุด
- จุดตรวจที่ 6 พระราม 2 ขาเข้า กม.53+400
- จุดตรวจที่ 7 ถนนเอกชัย สายเก่าแยกวัดนาโคก
- จุดตรวจที่ 8 หน้าตู้ จร. เอกชัย
- จุดตรวจที่ 9 อบต.พันท้ายนรสิงห์
จุดตรวจทางน้ำ 3 จุด
- จุดตรวจที่ 10 ท่าเรือรับลม
- จุดตรวจที่ 11 ทำเรือ วัดโกรกกราก
- จุดตรวจที่ 12 ท่าเรือ องค์การสะพานปลา
- นอกจากพื้นที่ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมโรคเด็ดขาด ตามคำสั่งปิดสถานที่ตลาดกลางกุ้ง กับหอพักศรีเมืองซึ่งห้ามเข้าออกพื้นที่โดยเด็ดขาด ประชาชนในจังหวัดสมุทรสาคร ที่พักอาศัยอยู่นอกพื้นที่ดังกล่าว ขอความร่วมมืองดเดินทางออกนอกจังหวัดสมุทรสาคร
- หากมีความจำเป็นให้ปฏิบัติตาม มาตรการควบคุมโรคในการเดินทาง เข้า-ออก พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 5 จังหวัด
มีประกาศจากกรมการขนส่งทางราง เรื่องมาตรการพึงปฏิบัติการจัดการระบบขนส่งทางรางภายใต้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) (ฉบับที่ 6) ดังนี้
ข้อ 1 การให้บริการเดินรถไฟโดยสารข้ามเขตพื้นที่จังหวัดที่มีเส้นทางบริการภายในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยปฏิบัติ ดังนี้
(1) ห้ามจอดรับ – ส่งผู้โดยสาร ณ ป้ายหยุดรถและที่หยุดรถภายในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครโดยเด็ดขาด
(2) งดบริการเดินรถไฟโดยสารภายในเขตพื้นที่จังหวัดดังกล่าวในช่วงเวลาเคอร์ฟิว ระหว่างเวลา 22.00 นาฬิกา ถึงเวลา 05.00 นาฬิกาของทุกวัน ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2563 ถึงวันที่ 3 มกราคม 2564 หรือจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
(3) เพิ่มความเข้มงวดสูงสุดในการคัดกรองตรวจวัดอุณหภูมิผู้โดยสาร หากพบว่ามีอุณหภูมิสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส หรือมีอาการเข้าข่ายผู้ติดเชื้อไวรัสฯ ให้ผู้โดยสารงดการใช้บริการและประสานเจ้าหน้าที่สาธารณสุข พร้อมแนะนำข้อพึงปฏิบัติที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสฯ
(4) เฝ้าระวังและคัดกรองผู้โดยสารเพื่อไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวเข้าหรือออกนอกพื้นที่เขตจังหวัดสมุทรสาคร โดยตรวจสอบเอกสารหรือบัตรยืนยันตัวบุคคล
(5) ผู้โดยสารชาวไทยที่เดินทางออกหรือเข้าเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร ในช่วงเวลา ระหว่าง 05.00 นาฬิกา ถึงเวลา 22.00 นาฬิกาของทุกวัน ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2563 ถึงวันที่ 3 มกราคม 2564 หรือจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง จะต้องกรอกเอกสารระบุข้อมูลการเดินทาง เพื่อประโยชน์
ในการสอบสวนโรค
(6) ประกาศแจ้งหรือประชาสัมพันธ์ภายในสถานีและขบวนรถให้ประชาชนรับทราบตาม ข้อ 1 (1) ถึง (5)
ข้อ 2 ให้หน่วยงานผู้ให้บริการระบบรถไฟและรถไฟฟ้ายกระดับความเข้มข้นในการดำเนินมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ดังนี้
(1) เพิ่มความถี่ในการทำความสะอาด เช็ด พ่น ฆ่าเชื้อโรคบริเวณจุดมือสัมผัส ภายในสถานีและขบวนรถ พร้อมทั้งทำความสะอาดเหรียญโดยสาร (Token) ก่อนนำกลับมาใช้ในแต่ละวัน
(2) กวดขันการคัดกรองตรวจวัดอุณหภูมิผู้โดยสารก่อนเข้าระบบ และให้ผู้โดยสารใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือก่อนและหลังใช้บริการ
(3) ขอความร่วมมือให้ผู้โดยสารสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า งดการสนทนา งดใช้โทรศัพท์สนทนาภายในขบวนรถ และให้ผู้โดยสารเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล โดยเคร่งครัด
(4) ควบคุมไม่ให้เกิดความหนาแน่นแออัดภายในสถานีและในขบวนรถ เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อฯ
(5) ประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือผู้โดยสารให้ใช้แอปพลิเคชันไทยชนะ เพื่อประโยชน์ในการสอบสวนโรค
(6) ประชาสัมพันธ์มาตรการพึงปฏิบัติของผู้โดยสารและผลการดำเนินมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ของหน่วยงานผู้ให้บริการให้ประชาชนทราบ พร้อมทั้งรายงานให้กรมการขนส่งทางรางเพื่อประกอบการดำเนินการกำกับ ติดตามและประเมินสถานการณ์ ก่อนรายงานกระทรวงคมนาคมต่อไป
- จังหวัดกาญจนบุรีสั่งระงับการเดินทางรถโดยสารประจำทางสาธารณะเป็นการชั่วคราวในเส้นทางจังหวัดกาญจนบุรี – สมุทรสาคร – กาญจนบุรี ทุกเส้นทาง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2563 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
- หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม จะมีความผิดตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และอาจมีความผิดตามมาตรา 18 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พ.ศ.2548 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประชาชนที่เดินทางไปจังหวัดสมุทรสาคร ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 เป็นต้นมาให้ดำเนินการดังนี้
- มาพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อรายงานตัว
- ประเมินความเสี่ยงว่ามีความเสี่ยงต่ำ กลางหรือสูง หากเป็นเสี่ยงสูงต้องกักตัวและเข้ารับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
- กรณี สอบถามข้อมูลด้านสาธารณสุข ปรึกษาด้านสุขภาพอนามัย ติดต่อ 1422 กรมควบคุมโรค
แนวปฏิบัติและการป้องกัน
พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 5 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร ระยอง ชลบุรี จันทบุรี ตราด
- ปิดสถานที่เสี่ยง
- ห้ามนั่งบริโภคในร้านอาหารหรือเครื่องดื่ม ตั้งแต่เวลา 21.00 – 06.00 น.
- ตรวจคัดกรองการเดินทางข้ามจังหวัด หรือพื้นที่ควบคุมสูงสุดกับรอยต่อพื้นที่ควบคุม ให้มีการบันทึกข้อมูลและดำเนินการตามมาตรการ สธ.
- งดการเดินทางข้ามพื้นที่ เว้นแต่เหตุจำเป็นหรือขนส่งสินค้า
- จัดตั้งโรงพยาบาลสนาม
อ่านเพิ่มเติม มาตรการควบคุมโรคในการเดินทาง เข้า-ออก พื้นที่
ศบค. ยืนยันอาหารทะเลปรุงสุกปลอดภัยจากโควิด 19 ทานได้ตามปกติ
แนะนำให้ทำอาหารรับประทานกินเองที่บ้านจะปลอดภัยมากกว่า แต่ถ้าต้องเลือกซื้ออาหารจากร้านอาหารตามสั่ง เราสามารถลดโอกาสเสี่ยงได้โดย
- เลือกเมนูอาหารที่ปรุงสุก ด้วยความร้อนอุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป
- ล้างมือก่อนทานอาหารทุกครั้ง หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ 70 % ขึ้นไป หรือล้างมือด้วยสบู่อย่างน้อย 20 วินาที
เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายมี 2 ประเภท คือ
- เครื่องวัดที่ต้องสัมผัสกับร่างกาย เช่น ปรอทวัดไข้
- เครื่องวัดที่ไม่ต้องสัมผัสกับร่างกาย เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิหน้าผาก (ปืนวัดไข้)
ซึ่งเครื่องวัดที่ไม่ต้องสัมผัสกับร่างกายนั้นจะมีความแม่นยำที่ลดน้อยลง แต่จะมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ที่มีการระบาดของเชื้อโรคแบบนี้มากกว่า ทั้งนี้ ยังมีข้อบ่งใช้ของเครื่อง เช่น การวัดไข้ควรอยู่ในระยะ 15 – 30 เซนติเมตร การวัดไข้ในสภาวะที่เหมาะสม โดยควรให้ร่างกายปรับสภาพให้สมดุลก่อนเข้ารับการวัดไข้
- องค์การอนามัยโลก แนะนำว่าประชาชนควรทำตามข้อเสนอแนะของภาครัฐฯ ในพื้นที่ว่ามีแนวทางปฏิบัติอย่างไร
- หากมีการระบาดแพร่หลายโดยเฉพาะในกรณีที่ไม่สามารถรักษาระยะห่างได้ ภาครัฐฯ ควรสนับสนุนให้ประชาชนสวมหน้ากากผ้า องค์การอนามัยโลกได้จัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับส่วนประกอบของหน้ากากผ้า ตลอดจนคู่มือการสวมใส่อย่างปลอดภัยไว้แล้ว
- จำเป็น หากมีการเเพร่ระบาดในพื้นที่ นอกจากต้องปิดระบบเครื่องปรับอากาศส่วนกลางเเล้ว ยังควรทำความสะอาดเเละฆ่าเชื้อสถานที่ทำงานทุกส่วน
- สำหรับการจะกลับมาใช้ระบบเครื่องปรับอากาศส่วนกลางได้เมื่อใดนั้นขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของสถานการณ์ เเละความพร้อมของสถานที่ทำงานนั้น ๆ
- ต้องขออนุญาตจากสำนักอนามัยกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณามาตรการการควบคุมโรคเป็นกรณีไป แต่หากผู้ร่วมงานน้อยกว่า 300 คน หรือเป็นลักษณะการจัดเอง เช่น ในครอบครัว ขอให้ปฏิบัติตามาตรการป้องกันและควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด
การรักษาและวัคซีน
- เป็นสายพันธุ์ GH ตรงกับสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศเมียนมา มีต้นกำเนิดที่อินเดียและแพร่ระบาดมาที่รัฐยะไข่ และท่าขี้เหล็ก
- เป็นสายพันธุ์ที่ติดง่ายกว่าการระบาดครั้งแรก แต่มีความรุนแรงเท่าเดิม หากได้รับวัคซีนยังคงสามารถป้องกันได้อยู่
- หากมีความกังวล/สงสัยว่าป่วย ให้ไปเข้ารับการตรวจที่รพ.ที่สะดวกพร้อมแจ้งประวัติเสี่ยง
- หากแพทย์วินิจฉัยแล้วว่า
- มีความเสี่ยง = ไม่เสียค่าตรวจ
- ไม่มีความเสี่ยง = ไม่เข้าเกณฑ์ตรวจฟรี (ให้สังเกตอาการ 14 วัน)
- หากประสงค์ตรวจเองจะต้องเสียค่าตรวจเองทั้งหมด
ยกเว้น หากประสงค์ตรวจเองแล้ว ตรวจพบเชื้อ = ไม่ต้องเสียค่าตรวจ
- ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการรับรองวัคซีนโรคโควิด 19 และยังไม่มีการอนุมัติให้สถานพยาบาลใดดำเนินการฉีดวัคซีน
- กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อ ทั้งนี้ การโฆษณาเชิญชวนให้ประชาชนจองวัคซีนโรคโควิด19 ถือว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมาย (เข้าข่ายโฆษณาโอ้อวดเกินจริง) ตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541
- องค์การเภสัชกรรม ได้มีการสำรองยาฟาวิพิราเวียร์กว่า 488,200 เม็ด และได้ทยอยจัดส่งไปรักษาผู้ป่วยในพื้นที่ต่าง ๆ แล้ว พร้อมจัดหาเพิ่มอีกกว่า 100,000 เม็ด
- นอกจากนี้ องค์การเภสัชกรรมได้ทำการวิจัยและพัฒนายาฟาวิพิราเวียร์เอง ซึ่งในขณะนี้ได้มีการวิจัยพัฒนาในระดับห้องปฏิบัติการเสร็จแล้ว โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 จะเริ่มทำการผลิตในระดับอุตสาหกรรมจำนวน 360,000 เม็ด
- สำหรับทดสอบประสิทธิผลการรักษาหรือการศึกษาชีวสมมูล (Bioequivalence study) ซึ่งเป็นการศึกษาระดับยาในเลือดเทียบกับยาต้นแบบ เพื่อยื่นขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในเดือนกันยายน 2564 หากได้รับขึ้นทะเบียน จะเป็นยาสำหรับการสำรองใช้ในการรักษาผู้ติดเชื้อโควิดต่อไป
COVID-19 จะทำลายเนื้อปอด ซึ่งผู้ป่วยวัณโรคก็จะมีภาวะเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นหากติด COVID-19
จังหวัดสมุทรสาคร ได้จัดตั้งโรงพยาบาลสนามทั้งหมด 4 เเห่ง ประกอบด้วย
- โรงพยาบาลสนามตลาดกลางกุ้งจังหวัดสมุทรสาคร ตำบลมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร มีเตียงคนไข้รองรับประมาณ 40 เตียง เปิดให้แล้วเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2563
- โรงพยาบาลสนามกีฬาจังหวัดสมุทรสาคร ตำบลมหาชัย อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร มีเตียงคนไข้รองรับได้ประมาณ 500 เตียง ซึ่งคาดว่าจะเปิดได้ในวันที่ 31 ธันวาคม 2563
- โรงพยาบาลสนามที่ลานปฏิบัติธรรม วัดโกรกกราก ตำบลโกรกกราก อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ในขณะนี้ได้นำเตียงคนไข้เข้าวางไว้เเล้ว จำนวน 108 เตียง รองรับคนไข้ได้สูงสุด จำนวน 150 เตียง เปิดให้บริการในวันที่ 30 ธันวาคม 2563
- โรงพยาบาลสนามในพื้นที่โครงการวัฒนาแฟคตอรี่ หมู่ 3 ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร มีพื้นที่รองรับไว้ 3 โกดัง ซึ่งสามารถรองรับคนไข้ได้ประมาณ 600 คน เปิดให้บริการในวันที่ 30 ธันวาคม 2563
วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบคือวัคซีนป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Pneumococcus ซึ่งไม่ใช่เชื้อไวรัส จึงไม่สามารถป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาได้ โดยทั่วไปแพทย์แนะนำให้ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำฉีดเพื่อป้องกันโรคปอดอักเสบ แต่คนทั่วไปไม่จำเป็นต้องฉีด
- การตรวจด้วยชุด Rapid Test เป็นการตรวจดูภูมิคุ้มกันของร่างกาย ไม่ใช่การตรวจหาเชื้อโควิด 19 โดยตรง
- เพราะการตรวจหาเชื้อโดยตรงต้องใช้สำลีแหย่ที่โพรงจมูก เป็นการตรวจที่ต้องใช้เวลา 2 – 3 ชั่วโมง มีค่าใช้จ่ายสูงราว 2,000 – 3,000 บาท แต่การตรวจด้วยชุด Rapid Test มีค่าใช้เพียงหลักร้อยบาท
การเดินทางภายในประเทศ
- ยังไม่มีการระงับการเดินทางข้ามจังหวัด ยกเว้น 5 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร-ชลบุรี -ระยอง -จันทบุรี -ตราด
- ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 17) ให้ยกระดับพื้นที่ควบคุมสูงสุดที่จำเป็นต้องมีมาตรการเข้มงวดอย่างยิ่งโดยให้ตั้งจุดคัดกรองเข้มข้นและให้มีเอกสารรับรองความจำเป็นในการเดินทาง
- ท่านที่มีความจำเป็นในการเดินทางข้ามจังหวัด สมุทรสาคร-ชลบุรี -ระยอง -จันทบุรี -ตราด ***ติดต่อแจ้งความประสงค์ได้ ณ ที่ว่าการอำเภอต้นทางที่อยู่ โดยท่านนายอำเภอจะเป็นผู้รับรองเอกสารนั้นให้ ตั้งแต่ 7 ม.ค. 64 เป็นต้นไป
- ได้ แต่ขอให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด
- การติดต่อของโรคภายในห้องโดยสารเครื่องบินมีความเสี่ยงค่อนข้างน้อย
- อากาศที่ส่งผ่านบนเครื่องบินจะมีการควบคุมอย่างระมัดระวัง เครื่องบินโดยสารในยุคปัจจุบันมีระบบตัวกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งเป็นชนิดเดียวกันในโรงพยาบาลที่ใช้ดักจับฝุ่นละอองแบคทีเรียเชื้อราและไวรัส
- แต่ทั้งนี้การแพร่เชื้ออาจเกิดขึ้นจากผู้โดยสารที่นั่งใกล้ผู้ป่วยและได้รับสารคัดหลั่งจากการ ไอหรือจามหรือติดเชื้อจากการสัมผัสแต่ละบุคคล
- ส่วนในรถทัวร์ที่มีความแออัดและใช้เวลาเดินทางมากกว่า มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสมากกว่าโดยสารโดยเครื่องบิน
- ในขณะเดียวกันหากมีความจำเป็นต้องโดยสารขนส่งสาธารณะต้องมีความพร้อมด้วยการสวมหน้ากากอนามัยและเลี่ยงการสัมผัสในจุดที่ไม่จำเป็น
การเดินทางระหว่างประเทศ
- ทุกคนที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ยังคงต้องดำเนินการกักตัว 14 วัน เหมือนเดิม เพราะวัคซีนเป็นวัคซีนโควิดชนิดใหม่ ซึ่งองค์การอนามัยโลกยังไม่มีข้อตกลงว่าวัคซีนนั้นมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด
- การฉีดวัคซีนจึงเป็นการอนุญาตของแต่ละประเทศเป็นหลัก ในระดับสากลคนที่ฉีดวัคซีนแล้วยังไม่สามารถนำมาเป็นข้อกำหนดว่าสามารถเดินทางเข้า-ออกประเทศต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ
- ประกาศกพท. เรื่อง เงื่อนไขในการอนุญาตให้อากาศยานทำการบินเข้าออกประเทศไทย (ฉบับที่ 2)
- ผู้ที่จะเดินทางจะต้องขอหนั
งสือรับรองจากสถานทูตไทย หรือกงสุลไทย จากประเทศต้นทาง และเอกสารอื่นๆ ตามคำสั่ง ศบค. อย่างเคร่งครัด - เครื่องบินพาณิชย์ สำหรับนักท่องเที่ยวยังไม่ไ
ด้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าป ระเทศไทย
เตรียมตัวก่อนเดินทาง Pre-departure
- ตรวจสอบว่าเป็นบุคคลตามข้อยกเว้น 11 ประเภทหรือไม่
- เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตามเงื่อนไขบุคคลแต่ละประเภท
- ติดต่อสถานทูตไทยหรือกงสุลไทยประจำประเทศต้นทาง เพื่อยื่นเอกสารที่ จำเป็น และปฏิบัติตามเงื่อนไขการจองตั๋วเครื่องบิน เพื่อขอหนังสือรับรอง Certificate of Entry (COE)
- สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
- สถานทูตไทย / กงสุลไทยประจำประเทศต้นทาง
- กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 02 572 8442
วันเดินทางยื่นเอกสารต่อสายการบิน
- เอกสารแสดงตน เช่น passport
- หนังสือรับรอง Certificate of Entry (COE)
- ใบรับรองการตรวจ COVID-19 FREE โดยวิธี PT-PCR มีอายุไม่เกิน 72 ชม. ก่อนการเดินทาง เฉพาะบุคคลบางประเภท
- ประกันภัยครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลโรคโควิด-19 ตลอดระยะเวลาในไทยไม่น้อยกว่า 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ เฉพาะบุคคลบางประเภท*
- หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ (ตามปริมาณที่สายการบินกำหนด)
- ** ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมจากสายการบินที่ท่านจองไว้
ขณะอยู่บนเครื่อง On board
- ใส่หน้ากากอนามัยตลอดการเดินทาง
- ปฏิบัติบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ หรือลูกเรือ อย่างเคร่งครัด
เดินทางถึงประเทศไทย Arrival
- ตรวจคัดกรองอาการ ทางเดินหายใจและวัดไข้
- ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น เพื่อใช้ติดตามอาการ และการเข้าสถานที่ต่างๆ
- เข้ารับการกักตัว 14 วัน
** สอบถามข้อมูลเรื่องมาตรการเพื่อเฝ้าระวังโรค กรมควบคุมโรค โทร.1422
แรงงานต่างด้าว
- สามารถอยู่ในราชอาณาจักรและทำงานได้
- เนื่องจากคณะรัฐมนตรี เห็นชอบผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ คือ กัมพูชา ลาว และเมียนมา อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นกรณีพิเศษ
- โดยแรงงานต่างด้าวที่เข้าราชอาณาจักรมาแต่ยังไม่มีงานทำ ยังไม่มีนายจ้าง
– จะต้องหานายจ้างให้ได้ภายใน 90 วัน และต้องลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ ภายในวันที่ 25 มกราคม – 13 กุมภาพันธ์ 2564
– ต้องตรวจหาเชื้อโควิด 19 รวม ทั้งโรคต้องห้ามอีก 6 โรค และทำประกันสุขภาพ เป็นระยะเวลา 2 ปี มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นประมาณ 7,200 บาท - โดยประกาศนี้จะช่วยให้แรงงานต่างด้าวสามารถทำงานในราชอาณาจักรได้ 2 ปี โดยจะสิ้นสุดในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566
- ไม่สามารถทำได้
- เนื่องจากตามประกาศของ ศบค. เรื่องการแบ่งพื้นที่สถานการณ์ (ระลอกใหม่) ระบุว่า กรุงเทพมหานคร เป็นจังหวัดพื้นที่ควบคุม มีมาตรการห้ามแรงงานต่างด้าวเคลื่อนย้ายเข้า – ออกจากพื้นที่
- ผู้ที่ใกล้ชิดแรงงานชาวเมียนมา เช่น คนงานหรือแม่บ้าน หากตรวจสอบประวัติแล้วพบว่าไม่ได้เดินทางไปรวมกลุ่มกับชาวเมียนมาหรือเดินทางไปจังหวัดสมุทรสาคร ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 ให้ถือว่ามีความเสี่ยงต่ำในการติดเชื้อ
- กรณี สอบถามข้อมูลด้านสาธารณสุข ปรึกษาด้านสุขภาพ อนามัย ติดต่อ 1422 กรมควบคุมโรค
- แจ้งสถานีตำรวจใกล้บ้าน/จุดที่พบ
- โทรแจ้งเบาะแสได้ที่
- สายด่วน 1138 ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง
- สายด่วน 1599 และ สายด่วน 191 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- สายด่วน 1111
การตั้งด่านคัดกรองแรงงานต่างด้าวที่เดินทางเข้ากทม. ตลอด 24 ชั่วโมง เริ่มตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2563 เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป ดังนี้
- ถนนเพชรเกษม
- ถนนพระรามที่ 2
- ถนนบรมราชชนนี
- ถนนเลียบคลองพิทยาลงกรณ์