ช่วยเหลือเกษตรกร, โครงการภาครัฐ
โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2563/64
วัตถุประสงค์
- เพื่อช่วยเหลือให้เกษตรกรได้รับราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสมกับตลาด
- เพื่อเป็นการใช้กลไกตลาดในการสร้างเสถียรภาพราคาในระยะยาวและมีความยั่งยืน
- เพื่อลดภาระงบประมาณค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการช่วยเหลือเกษตรกร
ประกันรายได้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เมล็ด
- ประกันรายได้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ความชื้น 14.5 % ในพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั่วประเทศ ยกเว้น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่แจ้งขึ้นทะเบียนเพาะปลูกเพื่อผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์ ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้
ราคาและปริมาณประกันรายได้
- กำหนดราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2563/64 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ณ ความชื้น 14.5 % กิโลกรัมละ 8.50 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 30 ไร่ และไม่ซ้ำแปลง
เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับเงินส่วนต่าง
- เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีวันเพาะปลูกตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563 – 31 พฤษภาคม 2564
- เป็นเกษตรกรผู้ผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ด้วยตนเองและกรรมสิทธิ์เป็นของเกษตรกร
การคำนวนปริมาณผลผลิต
- ใช้ปริมาณผลผลิตต่อไร่เก็บเกี่ยวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี (ปี 2561/62 – 2563/64) ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เท่ากับ 713 กิโลกรัมต่อไร คูณด้วยจำนวนไร่ตามที่ได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรไว้ แต่ไม่เกินครัวเรือนละ 30 ไร่
หลักเกณฑ์การจ่ายเงินประกันรายได้
- เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร โดยแจ้งเพาะปลูกตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563 – 31 พฤษภาคม 2564
- ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรจะทำการตรวจสอบข้อมูล แล้วส่งมายัง ธ.ก.ส. เพื่อให้โอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง
การใช้สิทธิ
- เกษตรกรสามารถใช้สิทธิได้ในช่วงการเก็บเกี่ยวที่ระบุไว้ในทะเบียนเกษตรกร โดยรัฐบาลจะจ่ายเงินส่วนต่างครั้งแรกวันที่ 20 พฤศจิกายน 2563 สำหรับเกษตรกรที่เพาะปลูกตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563 และระบุวันคาดว่าเก็บเกี่ยวก่อนวันที่ 20 พฤศจิกายน 2563 และจ่ายต่อไปทุกวันที่ 20 ของเดือน จนถึงระยะเวลาสิ้นสุดการรับสิทธิชดเชยตามโครงการฯ
- การประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงงวดสุดท้ายครอบคลุมเกษตรกรที่ระบุวันที่คาดว่าเก็บเกี่ยวตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2564 เป็นต้นไป
- เกษตรกร 1 ครัวเรือน ใช้สิทธิ์ได้ไม่เกิน 30 ไร่ และต้องไม่ซ้ำแปลง
- ทั้งนี้ มอบหมายให้คณะอนุกรรมการกำกับดูและและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นผู้พิจารณากำหนดรายละเอียดการดำเนินการ วิธีการกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงต่อไป
การกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิง
- ใช้ราคารับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ชนิดเมล็ดความชื้นไม่เกิน 14.5 % ที่กรมการค้าภายในได้รับรายงานจากสำนักงานพาณิชย์จังหวัด เฉลี่ยจากจังหวัดที่มีปริมาณผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มากที่สุด 10 อันดับแรกตามข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ นครราชสีมา น่าน ตาก เลย เชียงราย ลพบุรี นครสวรรค์ พิษณุโลก และแพร่ เฉลี่ยย้อนหลัง 30 วัน ทั้งนี้ การคำนวณราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงให้นำปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาเพื่อให้มีความสอดคล้องและสะท้อนข้อเท็จจริงด้านราคาที่เกษตรกรควรได้รับ
ระยะเวลา
- ช่วงเวลาเพาะปลูก ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563 – 31 พฤษภาคม 2564
- ระยะเวลาใช้สิทธิ ใช้สิทธิได้ในช่วงการเก็บเกี่ยวที่ระบุไว้ในทะเบียนเกษตรกร
- ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 – 30 เมษายน 2564
การจ่ายชดเชยส่วนต่างราคา
- เริ่มจ่ายวันที่ 20 พฤศจิกายน 2563
- และจ่ายต่อไปทุกวันที่ 20 ของเดือน เป็นระยะเวลา 12 เดือน
- ทั้งนี้ แปลงปลูกข้าวโพดแปลงใดแปลงหนึ่งสามารถรับสิทธิ์ประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2563/64 ได้แปลงละ 1 ครั้ง ในรอบเพาะปลูกวันที่ 1 มิถุนายน 2563 – 31 พฤษภาคม 2564 เท่านั้น เพื่อมิให้เป็นการจ่ายเงินซ้ำซ้อน ซึ่งเกษตรกรสามารถตรวจสอบการโอนเงินได้ผ่านทางแอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ
มาตรการคู่ขนานโครงการฯ รวม 5 มาตรการ
- โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยสถาบันเกษตรกร ปี 63/64 เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการรวบรวมรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเกษตรกรในช่วงที่ผลผลิตออกมามาก วงเงินสินเชื่อ 1,500 ล้านบาท โดยใช้แหล่งเงินทุนจาก ธ.ก.ส.ดอกเบี้ย 4% ต่อปี คิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ 1% ต่อปี และรัฐบาลจะเป็นผู้ชดเชยดอกเบี้ย 3% ต่อปี ระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2563-วันที่ 30 มิถุนายน 2565
- โครงการชดเชยดอกเบี้ยในการเก็บสตอกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 63/64 วงเงินสินเชื่อ 1,500 ล้านบาท รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ย 3% ต่อปี ตามระยะเวลาที่เก็บ สต็อกไว้ 60-120 วัน โดยใช้งบประมาณจากคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร
- การบริหารจัดการการนำเข้า โดยกำหนดช่วงเวลานำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สำหรับผู้นำเข้าทั่วไป ควบคุมการขนย้ายในพื้นที่ติดชายแดน กำหนดสัดส่วนการนำเข้าข้าวสาลีต่อการรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 1:3 และการตรวจสอบการรับรอบนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้าน
- การดูแลความเป็นธรรมในการซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยให้ผู้รับซื้อแสดงราคาจุดรับซื้อที่ความชื้น 14.5 % และ 30 % พร้อมแสดงตารางการเพิ่ม-ลด ราคาตามเปอร์เซ็นต์ความชื้น และกำหนดให้ใช้เครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องวัดความชื้นที่มีมาตรฐาน
- การดูแลความสมดุล โดยแจ้งปริมาณการครอบครอง การนำเข้า สถานที่เก็บและการตรวจสอบสต็อก
ที่มา
- https://secreta.doae.go.th/?p=6369
- http://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG200823115639588
- https://www.isranews.org/article/isranews-news/91285-gov-Income-insurance-Cassava-Maize-Rubber-63.html
Post Views:
7,149