โครงการประกันภัยข้าวนา ปีการผลิต 2566

วันที่ 20 มีนาคม 2566 คณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ หรือ นบข. เห็นชอบ โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2566 ขณะนี้อยู่ระหว่างกระทรวงการคลังนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา

ผู้รับประกันภัย

  • บริษัทเอกชนที่สมัครเข้าร่วมโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2566 ตามกรมธรรม์

คุณสมบัติผู้เอาประกัน

  •  เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเพาะปลูกข้าวนาปี และปรับปรุงทะเบียนในปีการผลิต 2566

พื้นที่รับประกันภัย

  • การรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) จำนวน 21.5 ล้านไร่ เป็นลูกค้าสินเชื่อเพื่อการเพาะปลูกข้าวนาปี ธ.ก.ส. 16 ล้านไร่ เกษตรกรทั่วไป พื้นที่นำร่อง 5 ล้านไร่ เกษตรกรทั่วไปไม่เกิน 5 แสนไร่
  • การรับประกันภัยโดยภาคสมัครใจ (Tier 2) ไม่เกิน 5 แสนไร่
  • รวม Tier 1 และ Tier 2 จำนวน 22 ล้านไร่

อัตราค่าเบี้ยประกันภัย

  1. การรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) แบ่งเป็น 4 อัตรา (ไม่รวมอากรแสตมป์และภาษี มูลค่าเพิ่ม) ดังนี้
         (1) เกษตรกรลูกค้าสินเชื่อเพื่อการเพาะปลูกข้าวนาปี ธ.ก.ส. 115 บาทต่อไร่ เท่ากันในทุกพื้นที่
         (2) เกษตรกรทั่วไปในพื้นที่นำร่อง 70 บาทต่อไร่
         (3) เกษตรกรทั่วไปในพื้นที่เสี่ยงปานกลาง 199 บาทต่อไร่
         (4) เกษตรกรทั่วไปในพื้นที่เสี่ยงสูง 218 บาทต่อไร่
  2. การรับประกันภัยโดยภาคสมัครใจ (Tier 2) แบ่งเป็น 3 อัตรา (เกษตรกรจ่ายเองพร้อมทั้งอากรแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่ม) ดังนี้
         (1) พื้นที่เสี่ยงต่ำ 27 บาทต่อไร่
         (2) พื้นที่เสี่ยงปานกลาง 60 บาทต่อไร่
         (3) พื้นที่เสี่ยงสูง 110 บาทต่อไร่

วงเงินคุ้มครอง

วงเงินคุ้มครองภัยธรรมชาติ

    • 7 ภัยธรรมชาติ ได้แก่
        1. น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก
        2. ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง
        3. ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น
        4. ภัยอากาศหนาว หรือน้ำค้างแข็ง
        5. ลูกเห็บ
        6. ไฟไหม้
        7. ช้างป่า
    • วงเงินคุ้มครอง
        • สำหรับการรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) มีวงเงินความคุ้มครอง 1,190 บาทต่อไร่
        • การรับประกันภัยโดยภาคสมัครใจ (Tier 2) มีวงเงินความคุ้มครอง 240 บาทต่อไร่
        • รวมวงเงินความคุ้มครอง Tier 1 และ Tier 2 จำนวน 1,430 บาทต่อไร่

วงเงินคุ้มครองภัยศัตรูพืชและโรคระบาด

    • การรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) มีวงเงินความคุ้มครอง 595 บาทต่อไร่
    • การรับประกันภัยโดยภาคสมัครใจ (Tier 2) มีวงเงินความคุ้มครอง 120 บาทต่อไร่
    • รวมวงเงินความคุ้มครอง Tier 1 และ Tier 2 จำนวน 715 บาทต่อไร่

การอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยของ ธ.ก.ส.

  •  ธ.ก.ส. อุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัย 46 บาทต่อไร่
  • สำหรับเกษตรกรที่เป็นลูกค้าสินเชื่อเพื่อการเพาะปลูกข้าวนาปีของ ธ.ก.ส. ที่ขึ้นทะเบียนเพาะปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2566
  • จำกัดพื้นที่สูงสุดไม่เกิน 30 ไร่ต่อราย

การอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยของ ธ.ก.ส.

       รัฐบาลอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยสำหรับการรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) ให้แก่ผู้เอาประกันภัย  ดังนี้

1.เกษตรกรลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส.

    • ค่าเบี้ยประกันภัยเท่ากันทุกพื้นที่ 115 บาทต่อไร่
      (124.12 บาทต่อไร่ รวมอากรแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่ม)
    • ธ.ก.ส. อุดหนุน 46 บาทต่อไร่ รัฐบาลอุดหนุน 78.12 บาทต่อไร่
      (รวมอากรแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่ม)

2.เกษตรกรทั่วไปในพื้นที่นำร่อง

    • ค่าเบี้ยประกันภัย 70 บาทต่อไร่
      (75.97 บาทต่อไร่ รวมอากรแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่ม)
    • เกษตรกรจ่าย 5 บาทต่อไร่ รัฐบาลอุดหนุน 70.97 บาทต่อไร่
      (รวมอากรแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่ม)

3.เกษตรกรทั่วไปในพื้นที่เสี่ยงปานกลาง

    • ค่าเบี้ยประกันภัย 199 บาทต่อไร่
      (214 บาทต่อไร่ รวมอากรแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่ม)
    • เกษตรกรจ่าย 130 บาทต่อไร่ รัฐบาลอุดหนุน 84 บาทต่อไร่
      (รวมอากรแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่ม)

4. เกษตรกรทั่วไปในพื้นที่เสี่ยงสูง

    • ค่าเบี้ยประกันภัย 218 บาทต่อไร่
      (234.33 บาทต่อไร่ รวมอากรแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่ม)
    • เกษตรกรจ่าย 149 บาทต่อไร่ รัฐบาลอุดหนุน 85.33 บาทต่อไร่
      (รวมอากรแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่ม)

       ทั้งนี้  คิดภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 ของเบี้ยประกันภัยหลังจากรวมค่าอากรแสตมป์แล้ว และค่าเบี้ยประกันภัยทุก 250 บาท คิดค่าอากรแสตมป์ 1 บาท

ระยะเวลาการขายประกัน

       กำหนดวันเริ่มจำหน่ายกรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปีตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบโครงการฯ และกรมธรรม์ประกันภัยและอัตราเบี้ยประกันภัยได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน คปภ. และกำหนดวันสิ้นสุดการขายกรมธรรม์ แตกต่างกันตามภาคภูมิศาสตร์ ดังนี้

  1. ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ จำนวน 58 จังหวัด
    กำหนดวันสิ้นสุดการขายกรมธรรม์ ไม่เกินวันที่ 31 พฤษภาคม 2566
  2. ภาคตะวันตก จำนวน 5 จังหวัด
    กำหนดวันสิ้นสุดการขายกรมธรรม์ ไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2566
  3. ภาคใต้ จำนวน 14 จังหวัด
    กำหนดวันสิ้นสุดการขายกรมธรรม์ ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2566

การพิจารณาค่าสินไหมทดแทน

  • จ่ายตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 และจ่ายเพิ่มเติมกรณีที่เสียหายจริงแต่ไม่อยู่ในเขตประสบภัยตามที่ราชการกำหนด
  • โดยวิธีการประเมินรายแปลงที่เป็นพื้นที่แปลงปลูกเสียหายสิ้นเชิง

การแจ้งความเสียหายและแสดงหลักฐานการเสียหาย